เทศบาลตำบล ถ้ำใหญ่
  075-773-229      075-355397

งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

แผน ปภ ทต.ถ้ำใหญ่


บทที่ 1

ข้อมูลทั่วไป

         

   ๑.๑ สภาพทั่วไปของเทศบาลตำบลถ้ำใหญ่

๑.๑.๑ ที่ตั้งและอาณาเขต

         ตำบลถ้ำใหญ่  อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช แบ่งเขตการปกครองออกเป็น  7 หมู่บ้าน  ในสมัยแรก ต่อมาเห็นว่าบางหมู่บ้านมีครัวเรือนที่ต้องรับผิดชอบมากและเข้าเกณฑ์ที่จะแบ่งหมู่บ้าน   จึงมีการแบ่งหมู่บ้าน หมู่ที่  1 ออกเป็นหมู่ที่  8 , หมู่ที่ 3  ออกเป็นหมู่ที่ 9 , หมู่ที่ 5 ออกเป็นหมู่ที่ 10  สรุปได้ว่า  ปัจจุบันตำบลถ้ำใหญ่  มีการปกครองทั้งหมด  10  หมู่บ้าน

ตำบลถ้ำใหญ่ อำเภอทุ่งสง  จังหวัดนครศรีธรรมราช  ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออก  ห่างจากที่ว่าการอำเภอทุ่งสงไปทางทิศตะวันออก  ประมาณ  6  กิโลเมตร  มีอาณาเขตดังนี้

          ทิศเหนือ         จด      ตำบลนาหลวงเสน        อำเภอทุ่งสง          จังหวัดนครศรีธรรมราช

          ทิศใต้             จด      ตำบลที่วัง                 อำเภอทุ่งสง          จังหวัดนครศรีธรรมราช

          ทิศตะวันออก    จด      ตำบลร่อนพิบูลย์          อำเภอร่อนพิบูลย์    จังหวัดนครศรีธรรมราช

๑.๑.๒ เขตการปกครอง

         เทศบาลตำบลถ้ำใหญ่แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 2 เขต จำนวน 10 หมู่บ้าน ได้แก่เขตที่ 1 ได้แก่ หมู่ที่ 1 ,2,7,8 เขตที่ 2 ได้แก่ หมู่ที่ 3,4,5,6,9,10

๑.๑.๓ ประชากร ศาสนา

                            เทศบาลตำบลถ้ำใหญ่ มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 12,273 คน

จำแนกเป็น เพศชาย 6,149 คน

     เพศหญิง 6,124 คน

จำนวนครัวเรือน 5,990 ครัวเรือน

จำนวนประชากรแฝง ประมาณ 2,500 คน

ส่วนใหญ่นับถือศาสนา พุทธ ร้อยละ 99 เปอร์เซ็นต์

ข้อมูล ณ วันที่ 20 เดือน ธันวาคม พ.ศ.2560          

                             (ที่มา : ข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของที่ว่าการอำเภอทุ่งสง)

๑.๑.๔ การประกอบอาชีพ

         ประชากรส่วนใหญ่ของ เทศบาลตำบลถ้ำใหญ่ประมาณร้อยละ 80 ประกอบอาชีพเกษตรกร รองลงมาได้แก่ ด้านงานภาครัฐ ประมาณร้อยละ 15 ด้านค้าขาย ประมาณร้อยละ 5 เนื่องจากสภาพภูมิศาสตร์ที่เหมาะสมกับ การเพาะปลูก /การเลี้ยงสัตว์

 

๑.๑.5 เส้นทางคมนาคม (การขนส่งทางรถยนต์ ทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ)

         เทศบาลตำบลถ้ำใหญ่มีเส้นทางคมนาคมที่สำคัญสามารถเดินทางติดต่อกันระหว่าง เทศบาลเมืองทุ่งสง,เทศบาลตำบลที่วัง,เทศบาลตำบลชะมาย  และอำเภอต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว โดยสามารถเดินทางได้ทางรถยนต์ บนถนนทางหลวงหมายเลข41และทางรถไฟ

                   ๑.๑.6 แหล่งแม่น้ำลำคลอง

         เทศบาลตำบลถ้ำใหญ่มีลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นพื้นที่ราบลุ่มและหุบเขา มีแม่น้ำสำคัญไหลผ่านหลายสาย ได้แก่

        คลองโยง ไหลผ่านพื้นที่หมู่บ้าน ตั้งแต่หมู่ที่ 1 หมู่ที่ 2 หมู่ที่ 7 หมู่ที่ 8

        คลองปากแพรกไหลผ่านพื้นที่หมู่บ้าน ตั้งแต่หมู่ที่ 9 ถึงหมู่ที่ 4

    ๑.๒ ประวัติการเกิดภัย

          ๑.๒.๑ สถานการณ์สาธารณภัย

                            สถานการณ์สาธารณภัยที่เกิดขึ้นในพื้นที่ เทศบาลตำบลถ้ำใหญ่ส่วนใหญ่เกิดภัยจาก อุทกภัย วาตภัย อัคคีภัย ดินโคลนถล่ม โดยมีปัจจัยเสี่ยงมาจากเป็น แหล่งต้นน้ำ พื้นที่ราบลุ่มติดภูเขา มีน้ำท่วมขัง โดยเฉพาะในพื้นที่หมู่ที่ 9 บ้านน้ำรอบ พื้นที่ หมู่ที่ 3 และพื้นที่ หมู่ที่ 6ที่เกิดภัยขึ้นบ่อยครั้ง และจากสถานการณ์สาธารณภัยดังกล่าว มักจะมีผู้ประสบภัยที่ได้รับผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สิน ตั้งแต่การบาดเจ็บเล็กน้อยไปจนถึง  ขั้นรุนแรงเสียชีวิต

          ๑.๒.๒ สถิติภัย

                   สถานการณ์สาธารณภัยของ เทศบาลตำบลถ้ำใหญ่ที่สำคัญที่เกิดขึ้นและสร้างความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนจากสถิติการเกิดภัย ดังนี้

                             (1) อุทกภัย

ตารางที่ ๑-๑  :  สถิติการเกิดอุทกภัยและดินโคลนถล่มของ เทศบาลตำบลถ้ำใหญ่

 

พ.ศ.

จำนวนครั้ง     ที่เกิดภัย (ครั้ง)

พื้นที่ประสบภัย

(หมู่ที่/ชุมชน)

ผลกระทบความเสียหาย

มูลค่า

ควาเสียหาย

(ล้านบาท)

จำนวนครัวเรือน

ที่ประสบภัย

เสียชีวิต

(คน)

สูญหาย

(คน)

 

บาดเจ็บ

(คน)

๒๕24

1

ถนนสาน 41

-

-

-

-

-

๒๕๕4

1

ทั้งตำบล

-

-

-

-

100,000

๒๕๕6

1

1,2,3,4,7,9

32

-

-

-

376,800

๒๕๕๘

1

6

-

-

-

-

-

๒๕๕๙

1

3,6,9

-

-

-

-

-

2560

1

ทั้งตำบล

3,700

1

-

-

1,629,800

รวม

 

 

3,732

1

 

 

2,106,600

                             (ที่มา : งานป้องกันฯ ทต.ถ้ำใหญ่ ข้อมูล  ณ  วันที่ 1 เดือน เมษายน พ.ศ.2560)

                         

 

     (2)  วาตภัย

ตารางที่ ๑-๒  :  สถิติการเกิดวาตภัยของ (ระบุชื่อ อปท.)

 

 

พ.ศ.

จำนวนครั้ง      ที่เกิดภัย (ครั้ง)

พื้นที่ประสบภัย

(หมู่ที่/ชุมชน)

ผลกระทบความเสียหาย

มูลค่า

ความเสียหาย

(ล้านบาท)

จำนวนบ้านเรือน    ที่เสียหายทั้งหลัง (หลัง)

จำนวนบ้านเรือน    ที่เสียหายบางส่วน (หลัง)

๒๕๕๖

1

1,7

 

15

30,000

๒๕๕๗

1

1,3,5,7,9,10

 

37

90,000

๒๕๕๙

1

2,7,8,10

 

21

32,000

 

 

 

 

 

 

รวม

 

 

 

 

 

                          

                                (ที่มา : งานป้องกันฯ ทต.ถ้ำใหญ่ ข้อมูล  ณ  วันที่ 1 เดือน เมษายน พ.ศ.2560)

                           (3) ภัยแล้ง

ตารางที่ ๑-๓  :  สถิติการเกิดภัยแล้งของ เทศบาลตำบลถ้ำใหญ่

 

พ.ศ.

จำนวนครั้ง     ที่เกิดภัย (ครั้ง)

พื้นที่  ประสบภัย

(หมู่ที่/ชุมชน)

ผลกระทบความเสียหาย

มูลค่า

ความเสียหาย (ล้านบาท)

จำนวนครัวเรือน      ที่ประสบภัย

พื้นที่การเกษตรเสียหาย (ไร่)

จำนวนสัตว์

ที่รับผลกระทบ

(ตัว)

๒๕๕๖

1

3,9,10

50

-

-

-

๒๕๕๗

1

3,9,10

50

-

-

-

๒๕๕๘

1

3,9,10

59

-

-

-

๒๕๕๙

1

ทั้งตำบล

190

-

-

-

 

 

 

 

 

 

 

รวม

 

 

 

 

 

 

                         

                                 (ที่มา : งานป้องกันฯ ทต.ถ้ำใหญ่ ข้อมูล  ณ  วันที่ 1 เดือน เมษายน พ.ศ.2560)

 

 

 

                           (4) อัคคีภัย

ตารางที่ ๑-๔  :  สถิติการเกิดอัคคีภัยของ เทศบาลตำบลถ้ำใหญ่

 

พ.ศ.

จำนวนครั้ง     ที่เกิดภัย (ครั้ง)

พื้นที่ประสบภัย

(หมู่ที่/ชุมชน)

ผลกระทบความเสียหาย

มูลค่า

ความเสียหาย

(ล้านบาท)

จำนวนบ้านเรือนที่ประสบภัย

เสียชีวิต

 (คน)

บาดเจ็บ

(คน)

๒๕๕๕

1

1

1

-

-

350,000

๒๕๕๙

1

10

1

-

-

13,000,000

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

รวม

 

 

 

 

 

 

                                 (ที่มา : งานป้องกันฯ ทต.ถ้ำใหญ่ ข้อมูล  ณ  วันที่ 1 เดือน เมษายน พ.ศ.2560)

 

                          (๕) ภัยจากอุบัติเหตุจราจรทางถนน (ทั้งปี)

ตารางที่ ๑-๕  :  สถิติการเกิดภัยจากการคมนาคมของ เทศบาลตำบลถ้ำใหญ่

 

พ.ศ.

จำนวนครั้งที่เกิดเหตุ

(ครั้ง)

สถานที่เกิดเหตุ

ผลกระทบความเสียหาย

มูลค่าความเสียหาย

(ล้านบาท)

จำนวนผู้เสียชีวิต (คน)

จำนวนผู้บาดเจ็บ

(คน)

๒๕๕๕

 

 

 

 

 

๒๕๕๖

 

 

 

 

 

๒๕๕๗

 

 

 

 

 

๒๕๕๘

 

 

 

 

 

๒๕๕๙

 

 

 

 

 

รวม

 

 

 

 

 

(ที่มา : .............................................. ข้อมูล  ณ  วันที่.......เดือน................พ.ศ.........)

 

 

 

๑.๓ การจัดลำดับความเสี่ยงจากสาธารณภัยในพื้นที่ เทศบาลตำบลถ้ำใหญ่

                                   จากการวิเคราะห์สถานการณ์สาธารณภัยและการประเมินความเสี่ยงจากสาธารณภัย ภายใต้ฐานข้อมูลสถานการณ์สาธารณภัย สถิติการเกิดภัย ความถี่การเกิดภัย และปัจจัยที่ทำให้เกิดความเสี่ยงจากสาธารณภัย สามารถจัดลำดับความเสี่ยงจากมากไปหาน้อยตามลำดับได้ ดังนี้

ตารางที่ ๑-๖  :  ลำดับความเสี่ยงภัยของ เทศบาลตำบลถ้ำใหญ่

 

 

ลำดับ    ความเสี่ยงภัย

 

ประเภทของภัย

 

 

ลักษณะของการเกิดภัย

 

1

อุทกภัยและดินโคลนถล่ม

 น้ำป่าไหลหลาก จากเทือกเขา

2

ภัยแล้ง

น้ำในแม่น้ำลำคลองแห้งขอด  ฝนทิ้งช่วง

3

อัคคีภัย

ไฟฟ้าลัดวงจร

4

ฯลฯ

 

 

         ๑.๔ ปฏิทินสาธารณภัยประจำปี

                ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา มีการเกิดสาธารณภัยขึ้นบ่อยครั้งและเกิดขึ้นเป็นประจำในช่วงระยะเวลาหนึ่ง จึงทำให้ เทศบาลตำบลถ้ำใหญ่สามารถคาดการณ์การเกิดภัยได้มากขึ้น ได้แก่ อุทกภัย ภัยแล้ง วาตภัย อัคคีภัย ไฟป่า นอกจากนี้ภัยจากการคมนาคม (อุบัติเหตุทางถนน) ก็ยังเป็นสาธารณภัยที่เกิดบ่อยครั้งมากขึ้น ซึ่งการคาดการณ์ทำได้ยากเพราะเป็นพฤติกรรมของมนุษย์ เว้นแต่ในบางช่วงระยะเวลาหากมีการใช้ถนนมาก เช่น เทศกาลต่างๆ ก็มีแนวโน้มจะเกิดมากขึ้น

 

ตารางที่ ๑-๗  :  ปฏิทินสาธารณภัยของ เทศบาลตำบลถ้ำใหญ่

                   เพื่อเป็นแนวทางในการเตรียมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยไว้ล่วงหน้า เทศบาลตำบลถ้ำใหญ่จึงทำปฏิทินสาธารณภัยที่เกิดขึ้นในพื้นที่ ดังนี้

ภัย/เดือน

ระยะเวลาที่เกิดภัย

ม.ค.

ก.พ.

มี.ค.

เม.ย.

พ.ค.

มิ.ย.

ก.ค.

ส.ค.

ก.ย.

ต.ค.

พ.ย.

ธ.ค.

อุทกภัย

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ภัยแล้ง

 

ฤดูแล้ง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

พายุฤดูร้อน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

อัคคีภัย

ปีใหม่

ตรุษจีน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ปีใหม่

อุบัติเหตุทางถนน

ปีใหม่

 

 

 

สงกรานต์

 

 

 

 

 

 

 

ปีใหม่

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หมายเหตุ : ……………… เฝ้าระวังตลอดทั้งปี

 

บทที่ ๒

แนวคิดการจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัย

 

    ปัจจุบันแนวคิดการบริหารจัดการสาธารณภัยของประเทศไทยมุ่งเน้นให้ความสำคัญมากขึ้น      กับการดำเนินการอย่างยั่งยืน โดยให้ความสำคัญกับ “การจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัย” (Disaster Risk Management : DRM) ซึ่งประกอบด้วย การลดความเสี่ยงจากสาธารณภัย (Disaster Risk Reduction : DRR) ควบคู่กับการจัดการในภาวะฉุกเฉิน (Emergency Management) รวมถึงการฟื้นฟู (Recovery)

    ๒.๑ ขอบเขตสาธารณภัย

ขอบเขตสาธารณภัยตามแผนปฏิบัติการในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เทศบาลตำบลถ้ำใหญ่ พ.ศ. ๒๕๖๐ ฉบับนี้ ให้เป็นไปตามความหมาย “สาธารณภัย” ตามมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. ๒๕๕๐ ดังนี้

“อัคคีภัย วาตภัย อุทกภัย ภัยแล้ง โรคระบาดในมนุษย์ โรคระบาดสัตว์ โรคระบาดสัตว์น้ำ การระบาดของศัตรูพืช ตลอดจนภัยอื่นๆ อันมีผลกระทบต่อสาธารณชน ไม่ว่าเกิดจากธรรมชาติ มีผู้ทำให้เกิดขึ้น อุบัติเหตุ หรือเหตุอื่นใด ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายแก่ชีวิต ร่างกายของประชาชน หรือความเสียหาย  แก่ทรัพย์สินของประชาชน หรือของรัฐ และให้หมายความรวมถึงภัยทางอากาศ และการก่อวินาศกรรมด้วย”

 

              ๒.๒ ระดับการจัดการสาธารณภัย

ระดับการจัดการสาธารณภัยเป็นไปตามระดับการจัดการสาธารณภัยของแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๘ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับพื้นที่ จำนวนประชากร ขนาดของภัย ความรุนแรง ผลกระทบและความซับซ้อนของภัยหรือความสามารถในการจัดการสาธารณภัย ที่ผู้มีอำนาจตามกฎหมาย    ใช้ดุลยพินิจในการตัดสินใจเกี่ยวกับความสามารถในการเข้าควบคุมสถานการณ์เป็นหลัก โดยแบ่งเป็น ๔ ระดับ ดังนี้

ตารางที่ ๒-๑ : ระดับการจัดการสาธารณภัยของประเทศ ตามพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย       

                  พ.ศ. ๒๕๕๐

ระดับ

การจัดการ

ผู้มีอำนาจตามกฎหมาย

สาธารณภัยขนาดเล็ก

ผู้อำนวยการอำเภอ ผู้อำนวยการท้องถิ่น ควบคุมและสั่งการ

สาธารณภัยขนาดกลาง

ผู้อำนวยการจังหวัด ควบคุม สั่งการและบัญชาการ

สาธารณภัยขนาดใหญ่

ผู้บัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ

ควบคุม สั่งการและบัญชาการ

สาธารณภัยร้ายแรงอย่างยิ่ง

นายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมาย ควบคุม สั่งการและบัญชาการ

ที่มา : แผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๘

          เมื่อเกิดหรือคาดว่าจะเกิดสาธารณภัยขึ้นในพื้นที่ เทศบาลตำบลถ้ำใหญ่นายกเทศมนตรี เทศบาลตำบลถ้ำใหญ่ในฐานะผู้อำนวยการท้องถิ่น ตามพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย     พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๒๐ จะเข้าดำเนินการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในเขตพื้นที่โดยเร็วเป็นลำดับแรก   มีอำนาจสั่งการ ควบคุม และกำกับดูแลการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานและอาสาสมัคร รวมทั้งติดตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ประเมินโอกาสการขยายความรุนแรงของภัย เพื่อรายงานนายอำเภอให้เสนอต่อ          ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจารณาประกาศหรือยกระดับของภัยจากสาธารณภัยขนาดเล็กเป็นสาธารณภัยขนาดกลางต่อไป

    ๒.๓ ยุทธศาสตร์การจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัย

                    แผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2558 ได้กำหนดยุทธศาสตร์       การจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัย โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ประเทศมีความพร้อมรับสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้น โดยการบูรณาการร่วมกันทุกภาคส่วน ซึ่งจะเป็นการสร้างมาตรฐานในการจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัยของประเทศ โดยให้ท้องถิ่น ชุมชน และภาคส่วนต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัยนำไปสู่การพัฒนา ที่ยั่งยืน รวมทั้งเพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพสังคมและท้องถิ่นเพื่อมุ่งเข้าสู่ “การรู้รับ – ปรับตัว – ฟื้นเร็วทั่ว – อย่างยั่งยืน” (Resilience) ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ ได้แก่

                    ยุทธศาสตร์ที่ 1  การมุ่งเน้นการลดความเสี่ยงจากสาธารณภัย

                    ยุทธศาสตร์ที่ 2  การบูรณาการการจัดการในภาวะฉุกเฉิน

                    ยุทธศาสตร์ที่ 3  การเพิ่มประสิทธิภาพการฟื้นฟูอย่างยั่งยืน

                    ยุทธศาสตร์ที่ 4  การส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศในการจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัย

             ยุทธศาสตร์ที่ 1 การมุ่งเน้นการลดความเสี่ยงจากสาธารณภัย

              เป็นการลดโอกาสที่จะได้รับผลกระทบจากสาธารณภัยอย่างเป็นระบบ โดยการวิเคราะห์และ จัดการกับปัจจัยที่เป็นสาเหตุและผลกระทบของสาธารณภัย เพื่อลดความล่อแหลม ลดปัจจัยที่ทำให้เกิดความเปราะบาง และเพิ่มศักยภาพของบุคคล ชุมชน และสังคมให้เข้มแข็งในการจัดการปัญหาในปัจจุบัน รวมถึงป้องกัน    ความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

              ยุทธศาสตร์ที่ 2 การบูรณาการการจัดการในภาวะฉุกเฉิน

             เป็นการเผชิญเหตุและจัดการสาธารณภัยในภาวะฉุกเฉินให้เป็นไปอย่างมีมาตรฐาน โดยการจัดระบบ การจัดการทรัพยากรและภารกิจความรับผิดชอบ เพื่อเผชิญเหตุการณ์ฉุกเฉินที่เกิดขึ้นทุกรูปแบบ   ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงลดความสูญเสียที่จะมีต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ทรัพยากรสภาพแวดล้อม สังคม และประเทศ ให้มีผลกระทบน้อยที่สุด

              ยุทธศาสตร์ที่ 3 การเพิ่มประสิทธิภาพการฟื้นฟูอย่างยั่งยืน

             เป็นการปรับสภาพระบบสาธารณูปโภค การดำรงชีวิต และสภาวะวิถีความเป็นอยู่ของชุมชน       ที่ประสบภัยให้กลับสู่สภาวะปกติ หรือพัฒนาให้ดีกว่าและปลอดภัยกว่าเดิม (Build Back Better and Safer)ตามความเหมาะสม โดยการนำปัจจัยในการลดความเสี่ยงจากสาธารณภัยมาดำเนินการฟื้นฟู ซึ่งหมายรวมถึงการซ่อมสร้าง (reconstruction) และการฟื้นสภาพ (rehabilitation)

              ยุทธศาสตร์ที่ 4 การส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศในการจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัย

              เป็นการพัฒนาศักยภาพการจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัยของประเทศให้ได้มาตรฐานตามหลักสากล โดยการจัดระบบและกลไกในการประสานความร่วมมือระหว่างประเทศให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งการจัดการ   ความเสี่ยงจากสาธารณภัยของประเทศจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยคำนึงถึงระเบียบ กฎหมาย แนวทางปฏิบัติ การให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม          และประเพณีปฏิบัติให้สอดคล้องกับกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศเป็นสำคัญ

             แผนปฏิบัติการในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เทศบาลตำบลถ้ำใหญ่พ.ศ. 2560 ฉบับนี้        มุ่งตอบสนองต่อยุทธศาสตร์การจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัยเพื่อสร้างความเชื่อมั่นและความปลอดภัย   ในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนและของรัฐ โดยชุมชนมีบทบาทสำคัญเป็นอย่างมากในการเตรียมความพร้อมและลดความเสี่ยงจากสาธารณภัย หากได้รับการพัฒนาศักยภาพรวมทั้งมีภูมิปัญญาท้องถิ่นก็จะสามารถทำให้ชุมชนของตนมีความปลอดภัยจากสาธารณภัย โดยการมีส่วนร่วมของคนหลากหลายกลุ่มในชุมชน

              ๒.๔ งบประมาณในการจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัย

                   งบประมาณในการจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัยของเทศบาลตำบลถ้ำใหญ่ มีที่มาจาก   2 แหล่งงบประมาณ ได้แก่

                   (๑) งบประมาณรายจ่ายประจำปี เทศบาลตำบลถ้ำใหญ่(โครงการที่ใช้งบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น)

                   (๒) งบประมาณอื่นๆ (งบกลางของ เทศบาลตำบลถ้ำใหญ่)

                   ๒.๔.๑ ภาวะปกติ

                            (๑) เทศบาลตำบลถ้ำใหญ่จัดทำกรอบการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. .... เทศบาลตำบลถ้ำใหญ่โดยกำหนดให้มีรายละเอียด ดังนี้

                                 - แผนและขั้นตอนของ เทศบาลตำบลถ้ำใหญ่ในการจัดการให้มีเครื่องหมายสัญญาณหรือสิ่งอื่นในการแจ้งให้ประชาชนได้ทราบถึงการเกิดหรือจะเกิดสาธารณภัย

                                 - แผนและขั้นตอนในการจัดหาวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ และยานพาหนะ เพื่อใช้ในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของเทศบาลตำบลถ้ำใหญ่

         (๒) เทศบาลตำบลถ้ำใหญ่ตั้งงบกลาง ให้เพียงพอต่อการเผชิญเหตุสาธารณภัยที่อาจจะเกิดขึ้น

                    ๒.๔.๒ ภาวะฉุกเฉิน (เมื่อเกิดหรือคาดว่าจะเกิดสาธารณภัย)

                            เทศบาลตำบลถ้ำใหญ่นำเงินงบประมาณของหน่วยงานที่ได้เตรียมไว้ ไปใช้จ่ายเพื่อบรรเทา/ช่วยเหลือความเดือดร้อนของประชาชนที่ประสบสาธารณภัยเป็นลำดับแรก ทั้งนี้ หากงบประมาณไม่เพียงพอ ให้โอนเงินงบประมาณเหลือจ่าย หรืองบประมาณในแผนงาน/โครงการอื่นที่ยังไม่มีความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องใช้จ่าย ไปตั้งเป็นงบประมาณสำหรับจ่ายเพิ่มเติมได้ ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยวิธีการงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๑ และที่แก้ไขเพิ่มเติม และหลักเกณฑ์ว่าด้วยการตั้งงบประมาณ เพื่อการช่วยเหลือประชาชนตามอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๔๓

 
   

แผนภาพที่ ๒-๑ : แหล่งงบประมาณในการจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัยของ เทศบาลตำบลถ้ำใหญ่

 

   ๒.๕ องค์กรปฏิบัติในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เทศบาลตำบลถ้ำใหญ่

         ในการดำเนินการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และการจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัย ใน เทศบาลตำบลถ้ำใหญ่จะมีองค์กรที่เกี่ยวข้องในการอำนวยการ ควบคุม สั่งการ และประสานการปฏิบัติตั้งแต่ระดับประเทศ ซึ่งกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เทศบาลตำบลถ้ำใหญ่ต้องมีการเชื่อมโยงและรับนโยบายแผนงานแนวทางมาดำเนินการ รวมทั้งการประสานกับหน่วยงานบริหารจัดการสาธารณภัยในระดับอำเภอ และระดับจังหวัดด้วย

          ๒.๕.๑ ระดับนโยบาย

                   (๑) คณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ (กปภ.ช.)

                       มีหน้าที่กำหนดนโยบายการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ บูรณาการพัฒนาระบบการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ระหว่างหน่วยงานของรัฐและหน่วยงานภาคเอกชนให้มีประสิทธิภาพ โดยมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ตามที่ระบุในมาตรา ๖ และมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๐

                   (๒) คณะกรรมการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ (กปอ.)

                       มีหน้าที่เสนอนโยบายเกี่ยวกับการป้องกันอุบัติภัยของประเทศและเสนอแนะแนวทางปฏิบัติและประสานงานระหว่างหน่วยงานของรัฐ โดยมีองค์ประกอบ และอำนาจหน้าที่ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม

                   (๓) คณะกรรมการจัดทำแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด

                       มีหน้าที่จัดทำแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเสนอต่อ          ผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อประกาศใช้ต่อไป โดยมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ตามที่ระบุในมาตรา ๑๗       แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. ๒๕๕๐

          ๒.๕.๒ ระดับปฏิบัติ

                   (๑) กองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ (บกปภ.ช.)

                        ทำหน้าที่บังคับบัญชา อำนวยการ ควบคุม กำกับ ดูแล และประสาน           การปฏิบัติการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแต่ละระดับ   โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นผู้บัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ           และปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นรองผู้บัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ

                       ในกรณีการจัดการสาธารณภัยขนาดใหญ่ (ระดับ ๓) มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และกรณีการจัดการสาธารณภัยร้ายแรงอย่างยิ่ง (ระดับ ๔) มีนายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมาย เป็นผู้ควบคุม สั่งการ และบัญชาการ

                   (๒) กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.)

                       ให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จัดตั้งกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง โดยมีอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในฐานะผู้อำนวยการกลาง เป็นผู้อำนวยการ มีความรับผิดชอบ ดังนี้

                       (๒.๑) ภาวะปกติ ประสานงาน และบูรณาการข้อมูลและการปฏิบัติการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในส่วนของสรรพกำลัง เครื่องมืออุปกรณ์ แผนปฏิบัติการ เพื่อเตรียมความพร้อม     ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสาธารณภัยทั้งระบบ

                       (๒.๒) ภาวะใกล้เกิดภัย เตรียมการเผชิญเหตุ ติดตามและเฝ้าระวังสถานการณ์ รวมถึงวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ประเมินสถานการณ์ และแจ้งเตือนภัย พร้อมทั้งรายงานและเสนอความเห็นต่อผู้บัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติหรือนายกรัฐมนตรีตามแต่ระดับการจัดการสาธารณภัยเพื่อตัดสินใจในการรับมือกับสาธารณภัยที่จะเกิดขึ้น โดยเรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นการประกอบกำลังในการเริ่มปฏิบัติการ

                       (๒.๓) ภาวะเกิดภัย อำนวยการและบูรณการประสานการปฏิบัติ ในกรณีการจัดการสาธารณภัยขนาดเล็ก (ระดับ ๑) และขนาดกลาง (ระดับ ๒) ให้กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลางรับผิดชอบในการอำนวยการ ประเมินสถานการณ์ และสนับสนุนกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแต่ละระดับ รวมทั้งติดตามและเฝ้าระวังสถานการณ์ วิเคราะห์และประเมินสถานการณ์ รายงานสถานการณ์และแจ้งเตือน พร้อมทั้งเสนอความคิดเห็นต่อผู้บัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ เพื่อตัดสินใจยกระดับในกรณีการจัดการสาธารณภัยขนาดใหญ่ (ระดับ ๓) และนายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรี        ที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย ในกรณีการจัดการสาธารณภัยร้ายแรงอย่างยิ่ง (ระดับ ๔)

                      ทั้งนี้ ให้กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง ทำหน้าที่เป็นส่วนหนึ่งในศูนย์ประสานการปฏิบัติของกองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ ในกรณียกระดับเป็น   การจัดการสาธารณภัยขนาดใหญ่ (ระดับ ๓) และขนาดร้ายแรงอย่างยิ่ง (ระดับ ๔)

                   (๓) กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด (กอปภ.จ.)

                       ทำหน้าที่อำนวยการ ควบคุม สนับสนุน และประสานการปฏิบัติการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในพื้นที่จังหวัดที่รับผิดชอบ โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นผู้อำนวยการ รองผู้ว่าราชการจังหวัดที่ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมาย และนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด เป็นรองผู้อำนวยการ

                   (๔) กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกรุงเทพมหานคร (กอปภ.กทม.)

                       ทำหน้าที่อำนวยการ ควบคุม สนับสนุน ประสานการปฏิบัติในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในเขตกรุงเทพมหานคร และจัดทำแผนปฏิบัติการหรือแผนเผชิญเหตุตามประเภทความเสี่ยงภัยให้สอดคล้องกับแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกรุงเทพมหานคร รวมทั้งดำเนินการสนับสนุน       การปฏิบัติการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และเป็นหน่วยเผชิญเหตุเมื่อเกิดสาธารณภัยในพื้นที่รับผิดชอบ โดยมีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในฐานะผู้อำนวยการ เป็นผู้รับผิดชอบ มีอำนาจหน้าที่และแนวทางปฏิบัติตามหมวด ๓ แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. ๒๕๕๐ ทั้งนี้ องค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ให้เป็นไปตามที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครกำหนด

                   (๕) กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยอำเภอ (กอปภ.อ.)

                       ทำหน้าที่อำนวยการ ควบคุม สนับสนุน และประสานการปฏิบัติกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตพื้นที่รับผิดชอบในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และปฏิบัติงานตามที่ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดมอบหมาย โดยมีนายอำเภอ เป็นผู้อำนวยการ

                   (๖) กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งพื้นที่ ประกอบด้วย

(๖.๑) กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเมืองพัทยา (กอปภ.เมืองพัทยา)

ทำหน้าที่อำนวยการ ควบคุม ปฏิบัติการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยและเผชิญเหตุ เมื่อเกิดสาธารณภัยขึ้น พร้อมทั้งจัดทำแผนปฏิบัติการในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ของเมืองพัทยาให้สอดคล้องและเชื่อมโยงกับแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดชลบุรี           และแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยอำเภอบางละมุง รวมถึงมีหน้าที่ช่วยเหลือผู้อำนวยการจังหวัด และผู้อำนวยการอำเภอ ตามที่ได้รับมอบหมาย พร้อมทั้งสนับสนุนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย        ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือเขตพื้นที่อื่นเมื่อได้รับการร้องขอ โดยมีนายกเมืองพัทยา เป็นผู้อำนวยการ

 

                      (๖.๒) กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเทศบาล (กอปภ.ทน./กอปภ.ทม./กอปภ.ทต.)

 ทำหน้าที่อำนวยการ ควบคุม ปฏิบัติการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และเผชิญเหตุเมื่อเกิดสาธารณภัยขึ้น พร้อมทั้งจัดทำแผนปฏิบัติการในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเทศบาล ตำบลถ้ำใหญ่ให้สอดคล้องและเชื่อมโยงกับแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดนครศรีธรรมราช และแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยอำเภอทุ่งสง รวมถึงมีหน้าที่ช่วยเหลือผู้อำนวยการจังหวัดและผู้อำนวยการอำเภอตามที่ได้รับมอบหมาย พร้อมทั้งสนับสนุนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งมีพื้นที่ติดต่อหรือใกล้เคียงหรือเขตพื้นที่อื่นเมื่อได้รับการร้องขอ โดยมีนายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลถ้ำใหญ่ เป็นผู้อำนวยการ

                                (๖.๓) กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยองค์การบริหารส่วนตำบล (กอปภ.อบต.ทำหน้าที่อำนวยการ ควบคุม ปฏิบัติการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และเผชิญเหตุ เมื่อเกิดสาธารณภัยขึ้น พร้อมทั้งจัดทำแผนปฏิบัติการในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยองค์กรบริหารส่วนตำบล เทศบาลตำบลถ้ำใหญ่ ให้สอดคล้องและเชื่อมโยงกับแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด และแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยอำเภอ รวมถึงมีหน้าที่ช่วยเหลือผู้อำนวยการจังหวัดและผู้อำนวยการอำเภอ ตามที่ได้รับมอบหมาย พร้อมทั้งสนับสนุนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  หรือเขตพื้นที่อื่นเมื่อได้รับการร้องขอ โดยมีนายกองค์การบริหารส่วนตำบล เป็นผู้อำนวยการ

                             การจัดการในภาวะฉุกเฉิน (รายละเอียดการปฏิบัติปรากฏตามบทที่ ๔ การปฏิบัติขณะเกิดภัย)

                             เมื่อเกิดหรือคาดว่าจะเกิดสาธารณภัยขึ้นในพื้นที่ ให้กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เทศบาลตำบลถ้ำใหญ่จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินท้องถิ่น ขึ้น โดยมีผู้อำนวยการท้องถิ่นเป็นผู้ควบคุมและสั่งการ เพื่อทำหน้าที่จัดการสาธารณภัยที่เกิดขึ้นจนกว่าสถานการณ์จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ พร้อมทั้งประสานกับส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ที่รับผิดชอบ และประสานความร่วมมือกับทุกภาคส่วนในการจัดการสาธารณภัยในพื้นที่ พร้อมทั้งให้รายงานผู้อำนวยการอำเภอในเขตพื้นที่ อำเภอทุ่งสง ทราบทันที

                             หากประเมินสถานการณ์สาธารณภัยและเกินขีดความสามารถของทรัพยากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการเข้าจัดการกับสาธารณภัยให้ยุติโดยเร็วแล้วและไม่สามารถควบคุมสถานการณ์สาธารณภัยได้โดยลำพัง ให้รายงานให้ผู้อำนวยการอำเภอทราบและขอรับการสนับสนุนจากกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นติดต่อหรือใกล้เคียง และหรือ กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยอำเภอ

 

แผนภาพที่ ๒-๒ : กลไกการจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัยของประเทศไทย

   ๒.๖  การจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินเทศบาลตำบลถ้ำใหญ่  (เมื่อเกิดหรือคาดว่าจะเกิด          สาธารณภัย)

          บทบาทภารกิจ

         เมื่อเกิดหรือคาดว่าจะเกิดสาธารณภัย ให้กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เทศบาลตำบลถ้ำใหญ่จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉิน เทศบาลตำบลถ้ำใหญ่เพื่อทำหน้าที่จัดการสาธารณภัยที่เกิดขึ้นจนกว่าสถานการณ์จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ พร้อมทั้งประสานกับส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ที่รับผิดชอบ และประสานความร่วมมือกับทุกภาคส่วนในการจัดการสาธารณภัยทุกขั้นตอน หากในกรณี  ไม่สามารถควบคุมสถานการณ์สาธารณภัยตามขีดความสามารถโดยลำพัง ให้ขอรับการสนับสนุนจาก        กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในเขตพื้นที่ติดต่อหรือใกล้เคียง และหรือกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยอำเภอ โดยมีผู้อำนวยการท้องถิ่น เป็นผู้ควบคุมและสั่งการ

 

                   ภาวะปกติ                                                        ภาวะฉุกเฉิน

             (ไม่เกิดสาธารณภัย)                                   (เมื่อเกิดหรือคาดว่าจะเกิดสาธารณภัย)

 

แผนภาพที่ ๒-๓ : องค์กรปฏิบัติในการจัดการสาธารณภัยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

 

   ๒.๗ การปฏิบัติร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

                   ๒.๗.๑ การปฏิบัติร่วมกับอำเภอและจังหวัด

                           (1) จัดเจ้าหน้าที่ประสานอำเภอและจังหวัด ในช่วงระยะขณะเกิดภัย พร้อมทั้งรายงานสถานการณ์สาธารณภัยที่เกิดขึ้นตามข้อเท็จจริงเป็นระยะๆ

                           (2) กรณีสถานการณ์สาธารณภัยมีความรุนแรงให้ประสานขอกำลังสนับสนุนจาก        กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยอำเภอ/จังหวัด ตามลำดับ

                    ๒.๗.๒ การปฏิบัติร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นข้างเคียง

                           (1) เมื่อเกิดสาธารณภัยขึ้นในเขตพื้นที่ของ เทศบาลตำบลถ้ำใหญ่และสาธารณภัยมีความรุนแรงขยายเป็นวงกว้าง ให้ผู้อำนวยการท้องถิ่น เทศบาลตำบลถ้ำใหญ่รายงานผู้อำนวยการอำเภอ พร้อมทั้งประสาน กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เทศบาลเมืองปากแพรก ให้สนับสนุน การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยที่เกิดขึ้น

                           (2) เมื่อเกิดสาธารณภัยขึ้นในเขตพื้นที่ของ เทศบาลเมืองทุ่งสง เทศบาลตำบลชะมาย เทศบาลตำบลที่วัง ให้ผู้อำนวยการท้องถิ่น เทศบาลตำบลถ้ำใหญ่ให้การสนับสนุนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยที่เกิดขึ้น เพื่อเป็นการบูรณาการและการประสานการปฏิบัติงานร่วมกัน

๒.๗.๓ การปฏิบัติร่วมกับหน่วยทหารในพื้นที่

         ในการปฏิบัติการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยร่วมระหว่างพลเรือนกับทหารนั้น  จะต้องมีการประสานงานกันอย่างใกล้ชิด เพื่อเป็นการสนับสนุนการจัดการสาธารณภัยของกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เทศบาลตำบลถ้ำใหญ่และศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินท้องถิ่น เทศบาลตำบล  ถ้ำใหญ่ กับ มทบ. 43 ทั้งนี้ ฝ่ายทหารอาจพิจารณาจัดตั้งศูนย์ประสานงานหรือศูนย์ปฏิบัติงานร่วมระหว่างพลเรือนกับทหาร ขึ้นอยู่กับระดับของหน่วยและสถานการณ์สาธารณภัยนั้นๆ โดยมีแนวทางปฏิบัติสอดคล้องกับแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกระทรวงกลาโหม แผนการป้องกันและบรรเทา     สาธารณภัยจังหวัด นครศรีธรรมราช พ.ศ. ๒๕๕๘ และข้อตกลงว่าด้วยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ระหว่างผู้อำนวยการจังหวัดกับหน่วยงานทหารในพื้นที่ ทั้งนี้รายละเอียดการแบ่งมอบพื้นที่ในการช่วยเหลือ ผู้ประสบภัยพิบัติของหน่วยทหารปรากฏตาม ภาคผนวก ฑ

๒.๗.๔ การปฏิบัติร่วมกับภาคประชาสังคม เอกชน และองค์การสาธารณกุศล

         กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เทศบาลตำบลถ้ำใหญ่เป็นศูนย์กลางในการประสานการปฏิบัติในเขตรับผิดชอบตลอด ๒๔ ชั่วโมง เพื่อให้สามารถติดต่อประสานงาน สั่งการ รายงาน   การปฏิบัติ และสถานการณ์ระหว่างทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้อย่างต่อเนื่อง รวดเร็ว และเชื่อถือได้ โดยมีแนวทางปฏิบัติ ดังนี้

         (๑) จัดเจ้าหน้าที่ประสานงานกับศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉิน เทศบาลตำบลถ้ำใหญ่(กรณีเกิด สาธารณภัย) เพื่อร่วมปฏิบัติการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และการช่วยเหลือสงเคราะห์ผู้ประสบภัย    ให้เป็นไปอย่างมีเอกภาพ

         (๒) จัดทำแผนประสานงานกับองค์การสาธารณกุศล และให้องค์การสาธารณกุศล       ในจังหวัดจัดเจ้าหน้าที่ประสานงานกับ เทศบาลตำบลถ้ำใหญ่ตลอด ๒๔ ชั่วโมง พร้อมอุปกรณ์และบุคลากร    ที่สามารถปฏิบัติภารกิจได้

         (๓) เทศบาลตำบลถ้ำใหญ่และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล ร่วมกับองค์การ  สาธารณกุศลจัดทำแนวทางปฏิบัติในการสนับสนุนทรัพยากร เจ้าหน้าที่ อุปกรณ์ และเครื่องมือ    เพื่อการปฏิบัติงานขององค์กรปฏิบัติในการจัดการสาธารณภัยแต่ละระดับ

         (๔) กรณีที่เมื่อเกิดสาธารณภัยขึ้น ถ้าองค์การสาธารณกุศลไปถึงพื้นที่ประสบภัยก่อน เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ ให้กั้นเขตพื้นที่อันตรายและกันไม่ให้ผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าไปยังพื้นที่อันตราย พร้อมทั้ง  แจ้งหน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบโดยทันที เพื่อดำเนินการควบคุมสถานการณ์สาธารณภัย

                            (๕) กรณีที่ได้รับการประสานจาก เทศบาลตำบลถ้ำใหญ่หรือหน่วยงานที่รับผิดชอบ เช่น ตำรวจ เทศบาล เป็นต้น ให้องค์การสาธารณกุศลจัดชุดเคลื่อนที่เร็วออกไปยังที่เกิดเหตุ และให้รายงานตัว      ที่ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉิน เทศบาลตำบลถ้ำใหญ่หรือผู้อำนวยการท้องถิ่น เพื่อรับมอบหมายภารกิจในการปฏิบัติการ

         (๖) กรณีหลังเกิดสาธารณภัย ให้องค์การสาธารณกุศล องค์กรเอกชน ช่วยเหลือ     เจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการรักษาความปลอดภัยในสถานที่เกิดเหตุ และพื้นที่รองรับการอพยพ ประสานหน่วยแพทย์และพยาบาล อีกทั้งให้การรักษาพยาบาลเบื้องต้นแก่ผู้ประสบสาธารณภัย พร้อมทั้งลำเลียงผู้ได้รับบาดเจ็บส่งโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล รวมทั้งอพยพช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัยไปยังที่ปลอดภัยหรือพื้นที่รองรับการอพยพ

 

 

ตารางที่ ๒-๒ : รายนามภาคประชาสังคม และองค์การสาธารณกุศลในพื้นที่ เทศบาลตำบลถ้ำใหญ่

 

 

ลำดับที่

รายนามภาคประชาสังคม

และองค์การสาธารณกุศล

โทรศัพท์/โทรสาร

รายชื่อผู้ประสานงาน

๑.

๒.

3.

มูลนิธิไต้เต็กตึ้ง

มูลนิธิประชาร่วมใจ

มูลนิธิสยามร่วมใจ

โทร.075-343-602

โทร. 075-491244

โทร 075420255

 

 

 

 

 

 

 

 

         

 

 

บทที่ 3

การปฏิบัติก่อนเกิดภัย

 

             ๓.๑ การลดความเสี่ยงจากสาธารณภัย

                   แผนปฏิบัติการในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของ เทศบาลตำบลถ้ำใหญ่ฉบับนี้             มุ่งดำเนินงานตอบสนองต่อยุทธศาสตร์การจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัยตามแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๘ ให้บรรลุผลสำเร็จในทางปฏิบัติ โดยมีเป้าหมายสำคัญในการลดความเสี่ยงจากสาธารณภัย เพื่อสร้างความเชื่อมั่น ความปลอดภัย ในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในพื้นที่ ตามแนวทางในการดำเนินงานด้านการป้องกัน บรรเทา การลดผลกระทบจากสาธารณภัย และการเตรียมความพร้อม ดังนี้

                   ยุทธศาสตร์การมุ่งเน้นการลดความเสี่ยงจากสาธารณภัย เป็นการลดโอกาสที่จะได้รับผลกระทบทางลบจากสาธารณภัยอย่างเป็นระบบ โดยการวิเคราะห์และการบริหารจัดการปัจจัยที่เป็นสาเหตุและผลกระทบของสาธารณภัย เพื่อกำหนดนโยบาย มาตรการ หรือกิจกรรมต่างๆ ให้สามารถลดความล่อแหลม ลดปัจจัยที่ทำให้เกิดความเปราะบาง และเพิ่มศักยภาพของบุคคล ชุมชน และสังคมให้เข้มแข็งในการจัดการปัญหา โดยมีเป้าหมายในการลดความเสี่ยงที่มีอยู่ในชุมชนและสังคมในปัจจุบัน รวมถึงป้องกันความเสียหาย   ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

    ๓.๒ การประเมินความเสี่ยงจากสาธารณภัย

                   3.2.1 นิยามความเสี่ยง

                            ความเสี่ยงจากสาธารณภัย (Disaster Risk) หมายถึง โอกาสที่สาธารณภัย ทำให้เกิดความสูญเสียต่อชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สิน ความเป็นอยู่ และภาคบริการต่างๆ ในชุมชนใดชุมชนหนึ่ง ณ ห้วงเวลาใดเวลาหนึ่งในอนาคต ซึ่งสามารถแทนด้วยสมการแสดงความสัมพันธ์ของปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับ ความเสี่ยง ได้แก่ ภัย ความล่อแหลม ความเปราะบาง และศักยภาพ ดังนี้

 

ความเสี่ยง (Risk)  =  ภัย (Hazard) x ความล่อแหลม (Exposure) x ความเปราะบาง (Vulnerability)

                                                          ศักยภาพ (Capacity)

 

                   การวิเคราะห์ความเสี่ยง, การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment) หมายถึง กระบวนการกำหนดลักษณะ ขนาด หรือขอบเขตของความเสี่ยงโดยการวิเคราะห์ภัยที่เกิดขึ้นและประเมินสภาวะการเปิดรับต่อความเสี่ยง (exposure) ความเปราะบาง (Vulnerability) และ ศักยภาพ (Capacity)   ในการรับมือของชุมชนที่อาจเป็นอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สิน การดำรงชีวิตและสิ่งแวดล้อม เป็นการวิเคราะห์ความน่าจะเป็นในการเกิดผลกระทบจากภัยในพื้นที่หนึ่ง ๆ มีประโยชน์ในการวางแผนเพื่อจัดการความเสี่ยงอย่างมีระบบ

                   ภัย (Hazard) หมายถึง เหตุการณ์ที่เกิดจากธรรมชาติหรือการกระทำของมนุษย์ที่อาจนำมาซึ่งความสูญเสียต่อชีวิต ทรัพย์สิน ตลอดจนทำให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

ความล่อแหลม (Exposure) หมายถึง การที่ผู้คน อาคารบ้านเรือน ทรัพย์สิน ระบบต่างๆ หรือองค์ประกอบใดๆ มีที่ตั้งอยู่ในพื้นที่เสี่ยงและอาจได้รับความเสียหาย

ความเปราะบาง (Vulnerability) หมายถึง ปัจจัยหรือสภาวะใดๆ ที่ทำให้ชุมชนหรือสังคมขาดความสามารถในการปกป้องตนเอง ทำให้ไม่สามารถรับมือกับสาธารณภัย หรือไม่สามารถฟื้นฟูได้อย่างรวดเร็วจากความเสียหายอันเกิดจากสาธารณภัย ปัจจัยเหล่านี้มีอยู่ในชุมชนหรือสังคมมานานก่อนเกิดสาธารณภัย และอาจเป็นปัจจัยที่ทำให้ผลกระทบของภัยมีความรุนแรงมากขึ้น

ศักยภาพ (Capacity) หมายถึง ความสามารถที่จะกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือความสามารถที่อาจจะพัฒนาต่อไปให้เป็นประโยชน์มากขึ้น

๓.๒.๒ ขั้นตอนการประเมินความเสี่ยงจากสาธารณภัย ประกอบด้วย ๗ ขั้นตอน ได้แก่   ขั้นที่ ๑ การทำความเข้าใจเหตุการณ์ปัจจุบัน ความต้องการในการประเมินความเสี่ยง และพิจารณาถึงข้อมูลในอดีต ขั้นที่ ๒ การประเมินภัย ขั้นที่ ๓ การประเมินความล่อแหลม ขั้นที่ ๔ การวิเคราะห์ความเปราะบางและศักยภาพ ขั้นที่ ๕ การวิเคราะห์ผลกระทบและระดับความเสี่ยง ขั้นที่ ๖ การจัดทำข้อมูลความเสี่ยงและแนวทาง         ในการจัดการและลดความเสี่ยง ขั้นที่ ๗ การพัฒนาหรือปรับปรุงยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการในการลดความเสี่ยงจากสาธารณภัย

                                      ให้กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เทศบาลตำบลถ้ำใหญ่จัดทีมประเมินความเสี่ยงจากสาธารณภัย เพื่อเข้าสำรวจพื้นที่และจัดเก็บข้อมูลข้อเท็จจริงจากเหตุการณ์สาธารณภัย       และเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยง รวมทั้งผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น เพื่อประกอบ       การตัดสินใจสั่งการในการรับมือสถานการณ์ภัยที่อาจจะเกิดขึ้น ได้แก่ (๑) การกำจัดความเสี่ยง (การป้องกันหรือหลีกเลี่ยง) (๒) การแก้ไขปัญหาความเปราะบางและความล่อแหลม (การลดผลกระทบ)  (๓) การเตรียมความพร้อมรับมือสาธารณภัย และ (๔) การถ่ายโอนหรือแบ่งปันความเสี่ยง

                             ทั้งนี้ ตัวอย่างของทางเลือกในการจัดการความเสี่ยงตามกลยุทธ์ข้างต้น ในกรณีแผ่นดินไหว พายุโซนร้อน และอุทกภัย แสดงในตารางที่ ๓-๑

 

ตารางที่ ๓-๑ : ตัวอย่างของประเภททางเลือกในการจัดการความเสี่ยง กรณีแผ่นดินไหว พายุโซนร้อน และ

         อุทกภัย

 

ประเภทของภัย

ประเภททางเลือกในการจัดการภัยพิบัติ

การป้องกัน/หลีกเลี่ยง

การลดผลกระทบ

การเตรียม

ความพร้อม

การถ่ายโอนหรือแบ่งปันความเสี่ยง

แผ่นดินไหว

 

ย้ายสิ่งก่อสร้างและโครงสร้างที่เปราะ บางทั้งหมดจากบริเวณพื้นที่เสี่ยงสูง ซึ่งจะได้รับผล กระทบจากแรงสั่น และบริเวณเสี่ยงต่อทรายเดือดหรือทรายเหลว

ใช้วัสดุและวิธีการก่อสร้างที่ทนต่อแผ่นดินไหว     ออกกฎหมายควบคุมสิ่งก่อสร้าง การซ่อมแซมและเสริมความแข็งแรงอาคาร การวางแผนการใช้ที่ดิน      โดยคำนึงถึง   ความเสี่ยง

การวางแผนเฉพาะกิจฉุกเฉิน         ซึ่งครอบคลุมทั้งบริเวณการเฝ้าระวังแผ่นดินไหว      การซ้อมรับมือแผ่นดินไหว      การจัดเตรียมสิ่งของยังชีพและสิ่งของสำรองจ่าย การฝึกทีมค้นหาและช่วยเหลือ         การให้ความรู้แก่ประชาชน

ประกันความเสี่ยงจากแผ่นดินไหว การรวมกลุ่ม   ความเสี่ยง เงินทุนสำหรับซ่อมสร้าง และกองทุน     ออมทรัพย์ชุมชนสำหรับการซ่อมสร้างและฟื้นสภาพ

พายุโซนร้อน

และอุทกภัย

 

ย้ายชุมชนที่สุ่มเสี่ยงออกห่างจากชายฝั่งและเส้นทางพายุ รวมถึงบริเวณพื้นที่ต่ำซึ่งเสี่ยงต่ออุทกภัย

ก่อสร้างแนวกำบังลมหรือใช้พื้นที่  ทางธรรมชาติ     ในการลดแรงลม ก่อสร้างคันดินหรือเขื่อนหรือกำแพงคลื่น และอื่นๆ เป็นแนวกั้นน้ำ        ยกอาคารให้บริเวณเสี่ยงต่อน้ำท่วม   อยู่เหนือระดับน้ำ  ที่คาดการณ์ไว้ ใช้แนวกำบังธรรมชาติ เช่น ป่าชายเลน วางแผนที่ดิน เป็นต้น

การเฝ้าระวัง     การพยากรณ์    การเตือนภัยล่วงหน้าสำหรับพายุไต้ฝุ่น        การเตือนภัยน้ำท่วมล่วงหน้า         การจัดการและ การวางแผนอพยพ การจัดเตรียมสิ่งของยังชีพ     การหาที่หลบพายุไต้ฝุ่นและกำหนดศูนย์อพยพฉุกเฉิน

ประกันความเสี่ยงอุทกภัย ประกันผลผลิตจากภัยพิบัติ เงินทุนเพื่อการซ่อมซ่อมสร้าง หรือกองทุนออมทรัพย์ของชุมชนสำหรับการซ่อมสร้างโครงการรับซื้อบ้านในพื้นที่น้ำท่วมถึง

 

 

                    รายละเอียดเรื่องการประเมินความเสี่ยงจากสาธารณภัยสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ www.disaster.go.th./หน่วยงานภายใน/กองนโยบายป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย/ดาวน์โหลด/         ส่วนนโยบายภัยธรรมชาติ

    ๓.๓ พื้นที่เสี่ยง ระดับความเสี่ยง และปัจจัยที่ทำให้เกิดความเสี่ยงจากสาธารณภัย

                   เมื่อมีการวิเคราะห์ความเสี่ยง หรือการประเมินความเสี่ยงจากสาธารณภัยแล้วจะทำให้ทราบถึงพื้นที่เสี่ยงภัยและปัจจัยที่ทำให้เกิดความเสี่ยงจากสาธารณภัย ซึ่งจะทำให้สามารถกำหนดแนวทางในการลดความเสี่ยงจากสาธารณภัยได้ตรงกับความเสี่ยงที่เกิดขึ้น นำไปสู่การลดความเสี่ยงอย่างยั่งยืน ที่หมู่บ้าน/ชุมชนมีวิธีการ    รู้รับ ปรับตัวในการรับมือกับสถานการณ์สาธารณภัยที่อาจจะเกิดขึ้น เช่น การกำหนดกิจกรรม โครงการหรือแผนงานที่กำหนดจากผลการประเมินและวิเคราะห์ความเสี่ยงของพื้นที่หนึ่งๆ เพื่อลดโอกาสในการได้รับผลกระทบ  จากสาธารณภัยที่สามารถคาดการณ์ได้ในปัจจุบันและเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้นในอนาคต

          เทศบาลตำบลถ้ำใหญ่รับผิดชอบในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในเขตตำบลถ้ำใหญ่ซึ่งมีหมู่บ้านที่เป็นพื้นที่เสี่ยงภัย และปัจจัยที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดความเสี่ยงจากภัยต่างๆ ดังต่อไปนี้

 

ตารางที่ ๓-๒ : ตารางแสดงปัจจัย/สาเหตุที่ทำให้เกิดความเสี่ยงจากสาธารณภัยของ เทศบาลตำบลถ้ำใหญ่

 

ประเภทของภัย

ระดับความเสี่ยงภัย

ปัจจัย/สาเหตุ ที่ทำให้เกิดความเสี่ยงจากสาธารณภัย

แผนงาน/โครงการ

การลดความเสี่ยง

จากสาธารณภัย

เสี่ยงสูง

เสี่ยง      ปานกลาง

เสี่ยงต่ำ

อุทกภัย

หมู่ที่ 9

หมู่ที่ 6

หมู่ที่ 3

พื้นที่ต้นน้ำและที่ราบลุ่ม

อบรมให้ความรู้

ภัยแล้ง

หมู่ที่ 3

หมู่ที่ 4

หมู่ที่10

ฝนขาดช่วง

อบรมให้ความรู้

วาตภัย

หมู่ที่ 8

หมู่ที่ 5

หมู่ที่10

เป็นทางผ่านของมรสุม

อบรมให้ความรู้

อัคคีภัย

หมู่ที่ 7

หมู่ที่ 2

หมู่ที่10

ชุมชนแออัด

อบรมให้ความรู้

สารเคมีและวัตถุอันตราย

หมู่ที่ 7

หมู่ที่ 2

หมู่ที่ 9

โรงงานที่ใช้สารเคมี

อบรมให้ความรู้

 

 

การวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงจากสาธารณภัย ดำเนินการในบริบทของสภาพพื้นที่และสภาวะแวดล้อมในท้องถิ่น/ชุมชน

 

ประเภทของภัย

ระดับความเสี่ยงภัย

ปัจจัย/สาเหตุ ที่ทำให้เกิด      ความเสี่ยงจากสาธารณภัย

แผนงาน/โครงการ

การลดความเสี่ยง

จากสาธารณภัย

 

เสี่ยงสูง

เสี่ยง        ปานกลาง

เสี่ยงต่ำ

อุทกภัย

หมู่ที่ 9

หมู่ที่ 6

หมู่ที่ 3

- เป็นต้นน้ำและพื้นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำหลายสาย

พื้นที่เสี่ยงบางจุดไม่มีพนังหรือเขื่อนกั้นตลิ่ง โดยเฉพาะพื้นที่หมู่ที่. 9

 

- ประชาชนส่วนใหญ่ปลูกบ้านพักอาศัยติดริมแม่น้ำ โดยเฉพาะพื้นที่ หมู่ที่ 9 ชุมชนบ้านน้ำรอบ

 

 

- ขาดระบบเตือนภัยที่มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะพื้นที่หมู่ที่ 9

 

 

 

- ขุดลอกแหล่งน้ำเป็นประจำทุกปี

 

 

- ชุมชน/หมู่บ้าน มีการฝึกการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเป็นประจำ

 

- สนับสนุนเครื่องมือให้มีมาตรฐานได้อย่างเพียงพอและรวดเร็ว

 

 

 

 

 

 

 

ภัยแล้ง

หมู่ที่. 3

หมู่ที่ 4

หมู่ที่ 10

- พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ทางเกษตร เกษตรกรจึงมีความต้องการใช้น้ำ   ในปริมาณมากและต่อเนื่องทั้งปี โดยเฉพาะพื้นที่หมู่ที่ 3

 

- แหล่งกักเก็บน้ำเพื่อการเกษตร  รวมทั้งแม่น้ำลำคลองตื้นเขิน โดยเฉพาะพื้นที่หมู่ที่ 4

 

- มีการบุกรุกทำลายป่าไม้          โดยเฉพาะพื้นที่หมู่ที่ 3

- มีเขื่อนหรือแหล่งน้ำและระบบชลประทาน  ที่ดี

 

 

- ขุดลอกแหล่งน้ำเดิมเพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ใน ฤดูแล้ง

 

- มีการรณรงค์ในการอนุรักษ์ทรัพยากร ธรรมชาติและขยายพื้นที่ป่า เช่น  การปลูกป่า

วาตภัย

หมู่ที่ 8

หมู่ที่ 5

หมู่ที่ 10

- ลักษณะภูมิอากาศโดยทั่วไป      อยู่ภายใต้อิทธิพลของลมมรสุม โดยเฉพาะพื้นที่หมู่ที่ 8

 

- บุคลกรที่มีความรู้ด้านสาธารณภัยไม่เพียงพอ โดยเฉพาะพื้นที่หมู่ที่ 8,5,10

 

- อาคารบ้านเรือนและสภาพแวดล้อมขาดการบำรุงดูแลรักษาให้เกิดความปลอดภัย โดยเฉพาะพื้นที่หมู่ที่ 8,5,10

- ติดตามสภาพภูมิอากาศโดยเฉพาะ ช่วงฤดูมรสุม

 

- จัดหลักสูตรอบรมบุคลากรที่เป็นกลุ่ม เป้าหมายให้ครบถ้วน

- มีการปรับปรุงและซ่อมแซมสิ่งปลูกสร้างต่างๆ ให้มีสภาพมั่นคงแข็งแรง สามารถทนต่อลมพายุได้

อัคคีภัย

หมู่ที่ 7

หมู่ที่ 2

หมู่ที่ 10

- ประชาชนขาดความตระหนัก     ในการดูแลความปลอดภัยเรื่องการใช้ไฟฟ้า โดยเฉพาะพื้นที่หมู่ที่ 7,2

 

- ประชาชนไม่ทราบถึงแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้องเมื่อเกิดอัคคีภัยขึ้น โดยเฉพาะพื้นที่หมู่ที่ 7,2,10

- มีการอบรมให้ความรู้ความเข้าใจในเรื่องอัคคีภัย

 

- มีการฝึกการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยด้านอัคคีภัยเป็นประจำทุกปี และให้ความรู้เกี่ยวกับอัคคีภัยแก่ประชาชน

สารเคมีและวัตถุอันตราย

 

หมู่ที่ 7

หมู่ที่ 2

หมู่ที่ 9

- มีโรงงานอุตสาหกรรมที่มีสารเคมีในการประกอบการอยู่ในพื้นที่ โดยเฉพาะพื้นที่หมู่ที่ 7,2

- มีแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยจากสารเคมีและวัตถุอันตรายของ อปท.

- มีการฝึกการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาสารเคมีและวัตถุอันตราย

 

 

หมายเหตุ : ตารางมาตรฐานในการประเมินค่าความเสี่ยง (สูง/ปานกลาง/ต่ำ) ตามภาคผนวก ญ

 

              ๓.๔ แนวทางปฏิบัติในการลดความเสี่ยงจากสาธารณภัย

                   ๓.๔.๑ การป้องกันและลดผลกระทบ

                            เนื่องจาก เทศบาลตำบลถ้ำใหญ่มีพื้นที่เสี่ยงจากสาธารณภัยที่ส่งผลกระทบ ได้แก่ อุทกภัยและดินโคลนถล่ม จึงให้ความสำคัญกับแนวทางการดำเนินงาน ดังนี้

                            (๑) ด้านโครงสร้าง

                                เทศบาลตำบลถ้ำใหญ่ได้พิจารณาโครงสร้างที่สอดคล้องกับสภาพพื้นที่เสี่ยงภัยแล้ว และได้จัดสร้าง ฝายชะลอ เส้นทางคมนาคมเพื่อส่งกำลังบำรุง ป้ายสัญญาณ  ขึ้น เพื่อใช้ในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในพื้นที่

                            (๒) ด้านไม่ใช้โครงสร้าง

                                 การป้องกันโดยไม่ใช้โครงสร้าง เป็นการใช้นโยบาย กฎระเบียบ การวางแผนและกิจกรรมต่างๆ เพื่อลดความเสี่ยง โดย เทศบาลตำบลถ้ำใหญ่ได้มีการดำเนินการ ดังนี้

                                (๒.๑) ด้านการบังคับใช้กฎหมายและการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่       กับหน่วยงานภาครัฐในการป้องกันไม่ให้เกิดอัคคีภัย เช่น การให้ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องแก่ประชาชนเกี่ยวกับ สาธารณภัยต่างๆ ที่เกิดจากการกระทำของประชาชนเอง

                                (๒.๒) วิเคราะห์และจัดทำแผนที่เสี่ยงภัยให้เหมาะสมกับพื้นที่ พร้อมทั้งจัดเก็บข้อมูลสถิติภัย และหาปัจจัยที่ทำให้เกิดความเสี่ยงจากสาธารณภัย เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการหาแนวทาง      การลดความเสี่ยงจากสาธารณภัยอย่างเป็นระบบ มุ่งสู่การแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน

 

๓.๔.๒ การเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์ภัย

         การเตรียมความพร้อมเป็นการดำเนินการที่เน้นช่วงก่อนเกิดภัยเพื่อให้ประชาชนหรือชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีองค์ความรู้ ขีดความสามารถ และทักษะต่างๆ พร้อมที่จะรับมือกับสาธารณภัย โดย เทศบาลตำบลถ้ำใหญ่มีการดำเนินงาน ประกอบด้วย

        (๑) การจัดการความเสี่ยงจากภัยพิบัติโดยอาศัยชุมชนเป็นฐาน (CBDRM)

    เป็นการเสริมสร้างศักยภาพโดยเน้นการอาศัยชุมชน/หมู่บ้านเป็นศูนย์กลาง     ในการป้องกัน แก้ไข บรรเทา และฟื้นฟูความเสียหายจากสาธารณภัย โดยให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผน ตัดสินใจ กำหนดแนวทางการแก้ปัญหาในการจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัย เพื่อลดความเสี่ยงภัยของชุมชนและเพิ่มขีดความสามารถให้คนในชุมชนมีศักยภาพในการระงับบรรเทาภัยได้ด้วยตนเองในระดับหนึ่ง ก่อนที่หน่วยงานภายนอกจะเข้าไปให้ความช่วยเหลือ รวมทั้งเป็นการสร้างภาคีเครือข่ายภาคประชาชน        ในรูปแบบอาสาสมัครเพื่อช่วยเหลืองานเจ้าหน้าที่ในขั้นตอนการเตรียมความพร้อม

         (๒) การฝึกการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในพื้นที่

               เป็นเครื่องมือและกิจกรรมในการสร้างความพร้อมและเพิ่มศักยภาพของหน่วยงานและบุคลากร รวมทั้งเป็นการทดสอบการประสานงานและการบูรณาการความร่วมมือ ทำให้ทราบจุดบกพร่องและช่องว่างในการปฏิบัติงานในภาวะฉุกเฉิน เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงแผนปฏิบัติการในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของ เทศบาลตำบลถ้ำใหญ่และแผนเผชิญเหตุสาธารณภัยให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น    ทั้งนี้ การฝึกการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยให้หมายรวมถึงการฝึก การซักซ้อม และการฝึกปฏิบัติตามความเหมาะสมและความจำเป็นของแต่ละหน่วยงานในทุกระดับ โดยกองอำนวยการป้องกันและบรรเทา      สาธารณภัย เทศบาลตำบลถ้ำใหญ่จะมีการประสานและสั่งการอำนวยการให้ชุมชน/หมู่บ้าน ดำเนินการฝึกการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแบบบูรณาการอย่างสม่ำเสมอ

                            (๓) การเฝ้าระวังและประเมินสถานการณ์

                                 (๓.1) จัดชุดเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ เพื่อทำหน้าที่เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ข้อมูลความเคลื่อนไหวของเหตุการณ์สาธารณภัยที่อาจจะเกิดขึ้นตลอด ๒๔ ชั่วโมง พร้อมทั้งประสานการปฏิบัติกับกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยข้างเคียง

                                  (๓.๒) ติดตามการรายงานสภาพอากาศปรากฏการณ์ธรรมชาติ ข้อมูลสถานการณ์ และการแจ้งข่าว การเตือนภัยจากกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยระดับเหนือขึ้นไป          และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมอุตุนิยมวิทยา กรมชลประทาน กรมทรัพยากรน้ำ กรมอุทกศาสตร์       กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ฯลฯ รวมทั้งสื่อต่างๆ เพื่อรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ เฝ้าระวัง ประเมินแนวโน้มการเกิดภัย

                                  (๓.๓) จัดทีมประชาสัมพันธ์ เพื่อให้ข้อมูลข่าวสารให้ประชาชนได้รับทราบ        ถึงระยะเวลา ภาวะที่จะคุกคาม (อันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สิน) เป็นระยะๆ เพื่อป้องกันความตื่นตระหนกและความสับสนในเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น และให้ความสำคัญกับผู้ที่ต้องช่วยเหลือเป็นกรณีพิเศษ เช่น ผู้พิการ    ทั้งนี้ ความถี่ของการแจ้งข่าวเตือนภัยขึ้นอยู่กับแนวโน้มการเกิดภัย

                                  (๓.๔) จัดให้มีอาสาสมัครและเครือข่ายเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ปฏิบัติงานตลอด ๒๔ ชั่วโมง และแจ้งข่าว เตือนภัยระดับชุมชน ทำหน้าที่ติดตาม เฝ้าระวังปรากฏการณ์ธรรมชาติที่มีแนวโน้มการเกิดภัย แจ้งข่าว เตือนภัยแก่ชุมชน และรายงานสถานการณ์ให้กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เทศบาลตำบลถ้ำใหญ่โดยใช้ระบบการสื่อสาร เครื่องมือแจ้งเตือนภัยของชุมชน

                                 การติดตามข้อมูลความเคลื่อนไหวของเหตุการณ์ที่อาจส่งผลให้เกิดสาธารณภัย รวมทั้งทำหน้าที่เฝ้าระวัง ให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชน โดยกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เทศบาลตำบลถ้ำใหญ่แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร วิเคราะห์ และประเมินสถานการณ์จากข้อมูลข่าวสารที่ได้รับ     และตรวจสอบข้อเท็จจริงของข้อมูล เพื่อตัดสินใจในการเตรียมรับมือกับสาธารณภัย

                                รายงานสถานการณ์ภัยและผลการปฏิบัติให้กองอำนวยการป้องกันและบรรเทา สาธารณภัยอำเภอและจังหวัดทราบเป็นระยะๆ เพื่อประสานและสนับสนุนการปฏิบัติร่วมกัน

                             (๔) การเตรียมการอพยพ

                                 กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เทศบาลตำบลถ้ำใหญ่มีแนวทางปฏิบัติสำหรับเตรียมการอพยพ ดังนี้

                                 (๔.๑) จัดทำแผนอพยพหลักผู้ประสบภัย แผนอพยพหลักส่วนราชการ โดยมีสาระสำคัญประกอบด้วย จำนวนผู้อพยพ บัญชีส่วนราชการ สิ่งอำนวยความสะดวกในการอพยพ การกำหนดเขตพื้นที่รองรับการอพยพให้อยู่ในพื้นที่ที่เหมาะสม การกำหนดเจ้าหน้าที่หรือผู้รับผิดชอบการอพยพไว้ให้ชัดเจน การกำหนดเส้นทางอพยพหลักและเส้นทางอพยพสำรองสำหรับแต่ละประเภทภัย รวมทั้งการสำรวจและการจัดเตรียมพาหนะ น้ำมันเชื้อเพลิง แหล่งพลังงาน และระบบสื่อสารการอพยพ

                                 (๔.๒) วางมาตรการการอพยพ

                             (๕) การเตรียมการจัดตั้งศูนย์พักพิงชั่วคราว

                                 กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เทศบาลตำบลถ้ำใหญ่มีแนวทางปฏิบัติสำหรับเตรียมการจัดตั้งศูนย์พักพิงชั่วคราว ดังนี้

                                 (๕.๑) คัดเลือกและจัดหาสถานที่ตั้งศูนย์พักพิงชั่วคราว

                                 (๕.๒) จัดการภายในศูนย์พักพิงชั่วคราว โดยกำหนดผู้รับผิดชอบภายในศูนย์พักพิงชั่วคราว คือ ผู้จัดการศูนย์พักพิงชั่วคราว ได้แก่ ผู้นำชุมชน กรณีโรงเรียนเป็นศูนย์พักพิงอาจเป็นผู้อำนวยการโรงเรียน

                                 (๕.๓) ปัจจัยความจำเป็นขั้นต่ำของศูนย์พักพิงชั่วคราวอื่นๆ

                                 (๕.๔) ให้มีการบริหารจัดการข้อมูลผู้อพยพ โดยมีการเก็บบันทึกข้อมูลที่จำเป็น

                             (๖) การจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้สาธารณภัย

                                 กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เทศบาลตำบลถ้ำใหญ่จะจัดทำโครงการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้สาธารณภัยประจำศูนย์เตรียมพร้อมป้องกันภัยประจำชุมชน/หมู่บ้าน ที่มีความพร้อมเป็นลำดับแรกก่อน โดยมีวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้สาธารณภัย ดังนี้

                                 (๖.๑) เพื่อให้ประชาชน/ชุมชนได้เรียนรู้สาธารณภัยต่างๆ ธรรมชาติและลักษณะของภัย

                                         (๖.๒) เพื่อให้ประชาชนทราบถึงขั้นตอนและวิธีการจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัยเพื่อลดผลกระทบและความสูญเสียชีวิตที่อาจเกิดขึ้น

                                 (๖.๓) เพื่อเพิ่มทักษะให้ประชาชนช่วยเหลือตนเอง สามารถรักษาชีวิตรอดได้  เมื่อเกิดสาธารณภัย

                             (๗) แผนการบริหารความต่อเนื่อง (Business Continuity Plan : BCP)

                                 แผนการบริหารความต่อเนื่อง เป็นแผนปฏิบัติงานในสภาวะวิกฤตฉุกเฉิน        ในสถานการณ์เมื่อเกิดภัยต่างๆ เช่น ภัยที่เกิดจากธรรมชาติ อุบัติเหตุ หรือการมุ่งร้ายต่อองค์กร ฯลฯ ซึ่งจากสภาวะวิกฤตหรือเหตุการณ์ฉุกเฉินดังกล่าวส่งผลให้หน่วยงานหรือองค์กรต้องหยุดชะงักการดำเนินงานหรือ   ไม่สามารถให้บริการประชาชนได้อย่างต่อเนื่อง ดังนั้น หน่วยงานส่วนราชการหรือองค์กรต่าง ๆ จึงต้องจัดทำแผนการบริหารความต่อเนื่อง (Business Continuity Plan : BCP) ขึ้น เพื่อเป็นแผนรองรับการดำเนินภารกิจของหน่วยงานหรือองค์กรในช่วงสภาวะวิกฤตหรือเหตุการณ์ฉุกเฉิน เพื่อให้บริการประชาชนได้อย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกับในช่วงภาวะปกติ หากหน่วยงานหรือองค์กรไม่จัดทำแผนการบริหารความต่อเนื่องรองรับไว้ตั้งแต่ในภาวะปกติอาจส่งผลกระทบต่อหน่วยงานหรือองค์กรในด้านต่างๆ เช่น ด้านเศรษฐกิจ การเงิน การให้บริการ สังคม ชุมชน สิ่งแวดล้อม ตลอดจนชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน เป็นต้น การจัดทำแผนการบริหารความต่อเนื่องจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้สามารถรับมือกับเหตุการณ์ฉุกเฉินและให้บริการได้เมื่อเกิดภัยขั้นวิกฤต           เพื่อดำเนินงานและให้บริการตามปกติตามระดับการให้บริการที่กำหนดไว้ซึ่งจะช่วยให้สามารถลดระดับ    ความรุนแรงของผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อหน่วยงานหรือองค์กรได้ แผนการบริหารความต่อเนื่องควรมีสาระสำคัญ ดังนี้

                                (๑) วัตถุประสงค์ของแผนการบริหารความต่อเนื่อง

                                (๒) ขอบเขตสถานการณ์ความเสี่ยงภัย เช่น แผนรับมือสถานการณ์ภัยจากอุทกภัย/อัคคีภัย/แผ่นดินไหว ฯลฯ

                                (๓) กำหนดสถานที่ปฏิบัติงานสำรอง

                                (๔) กำหนดขั้นตอนการปฏิบัติ

                                     - บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ปฏิบัติงาน เช่น ทีมอพยพ ทีมปฐมพยาบาล ทีมกู้ชีพกู้ภัย ทีมประสานงานและสนับสนุน ทีมรักษาความสงบเรียบร้อย ฯลฯ

                                     - ระดับความรุนแรงของสถานการณ์และขั้นตอนการปฏิบัติงานฉุกเฉิน

                                     - การอพยพทรัพยากรที่จำเป็นและเหมาะสมต่อสถานการณ์

                                     - ขั้นตอนการฟื้นฟูหน่วยงานหลังผ่านพ้นวิกฤต

                                                ฯลฯ

                   ๓.๔.๓ แนวทางปฏิบัติในการลดความเสี่ยงจากสาธารณภัยของชุมชน

                            ชุมชนมีบทบาทสำคัญเป็นอย่างมากในการเตรียมความพร้อมและลดความเสี่ยงจาก สาธารณภัย เนื่องจากชุมชนต้องอาศัยอยู่ในพื้นที่ของตนซึ่งมีความเสี่ยง หากชุมชนได้รับการพัฒนาศักยภาพรวมทั้งมีภูมิปัญญาท้องถิ่นในการลดความเสี่ยงจากสาธารณภัย ก็สามารถทำให้ชุมชนของตนมีความปลอดภัยจากสาธารณภัยหรือฟื้นตัวจากสาธารณภัยที่เกิดขึ้นได้ภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว โดยมีแนวทางปฏิบัติในการลดความเสี่ยงสาธารณภัยของชุมชน ดังนี้

                            (๑) การทำความเข้าใจเรื่องการลดความเสี่ยงจากสาธารณภัย ให้สำรวจชุมชน      เพื่อวิเคราะห์ความเสี่ยงและศักยภาพ รวมทั้งกลุ่มเปราะบางของชุมชน แล้วนำข้อมูลเหล่านั้นมาจัดทำเป็น  แผนลดความเสี่ยงภัยของชุมชน

                            (๒) ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการเตรียมพร้อมรับมือกับสาธารณภัย

                            (๓) มีแผนในภาวะฉุกเฉินเมื่อเกิดสาธารณภัยและแผนการฟื้นฟูชุมชนหลังจากเกิด   สาธารณภัย โดยมีการประสานงานกับหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่รับผิดชอบในระดับท้องถิ่น ระดับอำเภอ   และระดับจังหวัด เพื่อให้แผนมีการบูรณาการและตอบสนองความต้องการชองชุมชนได้อย่างแท้จริง

                            (๔) มีแผนรับมือกับสาธารณภัยในครอบครัว เช่น การสร้างบ้านเรือนให้มีความเข้มแข็งและอยู่ในพื้นที่ปลอดภัย รวมทั้งมีการเตรียมพร้อมในครอบครัวหากต้องอพยพออกจากที่พักอาศัยเดิม

                            (๕) จัดการฝึกอบรมสมาชิกชุมชนอยู่เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มเปราะบางเพื่อให้มีศักยภาพมากขึ้น

                            (๖) สร้าง ซ่อมแซม หรือปรับปรุงสาธารณูปโภคในชุมชนให้ช่วยลดความรุนแรงจาก สาธารณภัย เช่น ชุมชนที่โดนน้ำท่วมบ่อยอาจมีการสร้างฝายชะลอน้ำหรือทำพื้นที่แก้มลิงเพื่อพักน้ำ เป็นต้น

                            (๗) เตรียมสิ่งของยังชีพที่จำเป็นก่อนที่จะเกิดสาธารณภัย

    ๓.๕ การแจ้งเตือนภัย

การแจ้งเตือนภัยเป็นการแจ้งเตือนภัยล่วงหน้าแก่ผู้ที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบในพื้นที่เสี่ยงภัยให้เฝ้าระวังและเตรียมพร้อมรับสถานการณ์อพยพเคลื่อนย้ายไปสู่ที่ปลอดภัยได้ โดยกองอำนวยการป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัย เทศบาลตำบลถ้ำใหญ่แจ้งเตือนภัยไปยังชุมชน/หมู่บ้านในพื้นที่ที่คาดว่าจะเกิดภัย เพื่อส่งข้อมูลแจ้งเตือนภัยที่ถูกต้องรวดเร็วไปยังประชาชน

          ๓.๕.๑ การแจ้งเตือนล่วงหน้า

                   เป็นการแจ้งข้อมูลข่าวสารที่บ่งชี้ว่ามีแนวโน้มที่จะเกิดสาธารณภัยขึ้นในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงไปยังชุมชน หมู่บ้าน และประชาชน เพื่อให้ติดตามข้อมูลข่าวสารและความเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เทศบาลตำบลถ้ำใหญ่แจ้งเตือนภัยล่วงหน้าก่อนเกิดสาธารณภัย    ไม่ต่ำกว่า ๑๒๐ ชั่วโมง

          ๓.๕.๒ การแจ้งเตือนภัย

                   (๑) เมื่อมีการยืนยันข้อมูลว่ามีโอกาสเกิดสาธารณภัยขึ้นและประชาชนในพื้นที่     อาจได้รับผลกระทบ ให้แจ้งแนวทางปฏิบัติให้กับส่วนราชการและประชาชนในพื้นที่ทราบ โดยให้มีการแจ้งเตือนภัยไม่ต่ำกว่า ๗๒ ชั่วโมงก่อนเกิดภัย และให้มีข้อมูลการแจ้งเตือนภัย ดังนี้

                       (๑.๑) คาดการณ์ระยะเวลา และบริเวณพื้นที่ที่จะเกิดสาธารณภัย

                       (๑.๒) ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น และระยะเวลาหรือความยาวนานของภัย

                       (๑.๓) แนวทางการปฏิบัติของส่วนราชการ หน่วยงาน และประชาชนในการป้องกันตนเองให้ปลอดภัยจากสาธารณภัยที่อาจจะเกิดขึ้น ทั้งนี้ ให้นำแนวทาง มาตรการ และขั้นตอนการปฏิบัติจาก      กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยระดับเหนือขึ้นไปมาเป็นแนวทางในการปฏิบัติด้วย

 

                   (๒) วิธีการแจ้งเตือนภัย

                       (๒.๑) แจ้งเตือนภัยผ่านผู้นำชุมชน อาสาสมัครและเครือข่ายเฝ้าระวังของชุมชน/หมู่บ้าน

    (๒.๒) แจ้งเตือนประชาชนโดยตรง โดยผ่านทางสถานีโทรทัศน์ท้องถิ่น สถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชน วิทยุสมัครเล่น โทรสาร โทรศัพท์มือถือ หอกระจายข่าว เสียงตามสาย และไซเรนเตือนภัยแบบมือหมุน โทรโข่ง นกหวีด หรือสัญญาณเสียงที่กำหนดให้เป็นสัญญาณเตือนภัยประจำตำบลหรือหมู่บ้าน ฯลฯ

3.๕.๓ ระดับและความหมายของสีในการแจ้งเตือนภัย

          แผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๘ ได้กำหนดระดับของระบบการเตือนภัยไว้ ซึ่ง เทศบาลตำบลถ้ำใหญ่ได้นำระดับสีของการแจ้งเตือนภัยไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับประเภทของสาธารณภัยในพื้นที่ ดังนี้

 

                             สีแดง หมายถึง สถานการณ์อยู่ในภาวะอันตรายสูงสุด ให้อาศัยอยู่แต่ในสถานที่ปลอดภัยและปฏิบัติตามข้อสั่งการ

                             สีส้ม  หมายถึง สถานการณ์อยู่ในภาวะเสี่ยงอันตรายสูง เจ้าหน้าที่กำลังควบคุมสถานการณ์ให้อพยพไปยังสถานที่ปลอดภัย        และปฏิบัติตามแนวทางที่กำหนด

                             สีเหลือง หมายถึง สถานการณ์อยู่ในภาวะเสี่ยงอันตราย มีแนวโน้ม ที่สถานการณ์จะรุนแรงมากขึ้น ให้จัดเตรียมความพร้อม           รับสถานการณ์ และปฏิบัติตามคำแนะนำ

                             สีน้ำเงิน หมายถึง สถานการณ์อยู่ในภาวะเฝ้าระวัง ให้ติดตามข้อมูลข่าวสารอย่างใกล้ชิดทุกๆ ๒๔ ชั่วโมง

                             สีเขียว หมายถึง สถานการณ์อยู่ในภาวะปกติ ให้ติดตามข้อมูลข่าวสารเป็นประจำ

๓.๕.๔ กระบวนการแจ้งเตือนภัย

 

ข้มูล/ความต้องการ

แผนภาพที่ ๓ – ๑ : กระบวนการแจ้งเตือนภัย

 

                            กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เทศบาลตำบลถ้ำใหญ่จัดชุดเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ พร้อมทั้งรายงานผลการปฏิบัติงานตลอด ๒๔ ชั่วโมง นับตั้งแต่ได้รับแจ้งการเตือนภัย       เพื่อเป็นการยืนยันการสื่อสารสองทาง (Two-way Communication) โดยปฏิบัติ ดังนี้

                            (1) จัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ภัยตลอด 24 ชั่วโมง และประสานกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชนหรือผู้นำหมู่บ้าน รวมทั้งอาสาสมัครแจ้งเตือนภัย เพื่อเตรียมพร้อมเฝ้าระวัง    และติดตามสถานการณ์ภัยอย่างต่อเนื่อง และให้รายงานสถานการณ์การเกิดภัยมายังกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เทศบาลตำบลถ้ำใหญ่ทางโทรศัพท์หมายเลข 075-773229 วิทยุสื่อสาร ความถี่..162.775MHz โทรศัพท์สายด่วนหมายเลข 075-773229  

                                   (2) รายงานสถานการณ์การเกิดภัยไปยังกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยอำเภอและจังหวัดทาง 075-411685 , 075-356142 ตามแบบรายงานเหตุด่วนสาธารณภัย และวิทยุสื่อสาร ความถี่ 150.850MHz

 

 

บทที่ ๔

การปฏิบัติขณะเกิดภัย

 

              ๔.๑ การจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินเทศบาลตำบลถ้ำใหญ่

                   เมื่อเกิดหรือคาดว่าจะเกิดสาธารณภัยขึ้น ให้กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เทศบาลตำบลถ้ำใหญ่จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินท้องถิ่นขึ้น โดยมีผู้อำนวยการท้องถิ่นเป็นผู้ควบคุมและสั่งการ เพื่อทำหน้าที่จัดการสาธารณภัยที่เกิดขึ้นจนกว่าสถานการณ์จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ พร้อมทั้งประสานกับส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่รับผิดชอบ และประสานความร่วมมือกับทุกภาคส่วนในการจัดการสาธารณภัยทุกขั้นตอน หากในกรณีไม่สามารถควบคุมสถานการณ์สาธารณภัยตามขีดความสามารถโดยลำพัง    ให้ขอรับ การสนับสนุนจากกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เทศบาลเมืองทุ่งสง และ/หรือ กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยอำเภอ

                   ๔.๑.๑ โครงสร้างของศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉิน เทศบาลตำบลถ้ำใหญ่แบ่งออกเป็น  ๓ ส่วน  ๑ คณะที่ปรึกษา ๑ ศูนย์ข้อมูลประชาสัมพันธ์ร่วม ดังแสดงตามแผนภาพที่ ๔-๑

 

แผนภาพที่ ๔-๑ : โครงสร้างศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉิน ทต.ถ้ำใหญ่

หมายเหตุ  :  โครงสร้างของศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินของ อปท. สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสมของสถานการณ์ภัย โดยยึดหลักมาตรฐาน เอกภาพในการจัดการ และความยืดหยุ่นของโครงสร้างองค์กรการจัดการในภาวะฉุกเฉิน

                         ๔.๑.๒ บทบาทหน้าที่ภายในโครงสร้างศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉิน ทต.ถ้ำใหญ่ มีดังนี้

(1) คณะที่ปรึกษา/ผู้เชี่ยวชาญ มีหน้าที่ ให้ข้อเสนอแนะ คำแนะนำ ข้อมูล
ทางวิชาการ การสังเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์ และเทคนิคการปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์สาธารณภัย
ที่เกิดขึ้น โดยให้คำนึงถึงความปลอดภัยในการปฏิบัติงานเป็นสำคัญ พร้อมทั้งปฏิบัติหน้าที่อื่นใดตามที่ผู้อำนวยการท้องถิ่นเห็นสมควร

                             (2) ศูนย์ข้อมูลประชาสัมพันธ์ร่วม มีหน้าที่ ประสานข้อมูลเหตุการณ์กับส่วนต่างๆ      เพื่อสื่อสารและประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารให้กับประชาชนและสื่อมวลชน รวมทั้งปฏิบัติการทางจิตวิทยามวลชน

                             (3) ส่วนปฏิบัติการ มีหน้าที่ ปฏิบัติการลดอันตรายที่เกิดขึ้นโดยเร็ว โดยรักษาชีวิตและปกป้องทรัพย์สิน เข้าควบคุมสถานการณ์ ฟื้นฟูสู่สภาวะปกติ ค้นหาและกู้ภัย กู้ชีพ รักษาพยาบาล การแพทย์และสาธารณสุข รักษาความสงบเรียบร้อย การจราจร ผจญเพลิง โครงสร้างพื้นฐาน สารเคมีและวัตถุอันตราย กัมมันตรังสี ส่งกำลังบำรุง การขนส่ง อพยพ และบริหารจัดการผู้เสียชีวิต

                             (4) ส่วนอำนวยการ มีหน้าที่ ติดตามสถานการณ์ วิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์  แจ้งเตือนภัย รวบรวม ประสานข้อมูล และประเมินความต้องการและความจำเป็นในการสนับสนุนทรัพยากร ในภาวะฉุกเฉิน รวมถึงจัดเตรียมเอกสารและวางแผนเผชิญเหตุโดยใช้ข้อมูลที่ได้รับจากส่วนปฏิบัติการเป็นฐานดำเนินการ พร้อมทั้งให้การสนับสนุนสถานที่ปฏิบัติงานแก่กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย    ทต.ถ้ำใหญ่  /ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉิน เทศบาลตำบลถ้ำใหญ่ฯลฯ

                             (5)  ส่วนสนับสนุน มีหน้าที่ ดังนี้

                                    (5.1) ตอบสนองการร้องขอรับการสนับสนุนในทุกๆ ด้านที่จำเป็น เพื่อให้การจัดการในภาวะฉุกเฉินดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ได้แก่ สงเคราะห์ช่วยเหลือผู้ประสบภัย สาธารณูปโภค สาธารณูปการ บริการสังคม พลังงาน บริหารจัดการศูนย์พักพิงชั่วคราว พื้นฟูพื้นที่ประสบภัย ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การฟื้นฟู และงานชุมชน

                                    (5.2) ตอบสนองการร้องขอรับการสนับสนุนในด้านงบประมาณ การเงินและการบัญชี และการรับบริจาค ฯลฯ

                             ทั้งนี้ การจัดบุคลากรประจำศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินท้องถิ่นรายละเอียดตามแผนภาพที่ ๔-2 : การจัดบุคลากรประจำศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินท้องถิ่น

 

แผนภาพที่ ๔-2 การจัดบุคลากรประจำศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินท้องถิ่น

 

หมายเหตุ : การจัดบุคลากรประจำศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินท้องถิ่นปรับได้ตามความเหมาะสม ขึ้นอยู่กับสถานการณ์และความรุนแรงของสาธารณภัย และตามที่ผู้อำนวยการท้องถิ่นเห็นสมควร เพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการสาธารณภัยในพื้นที่

 

 

 

                   ๔.๒ การประกาศเขตพื้นที่ประสบสาธารณภัย

                         เพื่อประโยชน์ในการจัดการสาธารณภัยในเขตพื้นที่ให้ยุติโดยเร็ว แผนการป้องกันและบรรเทา   สาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๘ กำหนดให้ผู้อำนวยการจังหวัดเป็นผู้ออกประกาศเขตพื้นที่ประสบสาธารณภัยขนาดเล็ก (เขตพื้นที่ อปท.และอำเภอ)  และพื้นที่ประสบสาธารณภัยขนาดกลาง (เขตพื้นที่จังหวัด) ดังนั้น   เมื่อผู้อำนวยการจังหวัดประกาศเขตพื้นที่ประสบสาธารณภัยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นปฏิบัติ ดังนี้

                                  (๑) ให้ผู้บริหารท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งพื้นที่นั้นในฐานะผู้อำนวยการท้องถิ่น ตามพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. ๒๕๕๐ รับผิดชอบและปฏิบัติหน้าที่ในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในเขตท้องถิ่นของตน และมีหน้าที่ช่วยเหลือผู้อำนวยการจังหวัด และผู้อำนวยการอำเภอตามที่ได้รับมอบหมาย

                                  (๒) ให้ผู้อำนวยการท้องถิ่น มีอำนาจสั่งการ ควบคุม และกำกับดูแลการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานและอาสาสมัครให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. ๒๕๕๐

                                  (๓) เมื่อเกิดสาธารณภัยในพื้นที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใด ให้ผู้อำนวยการท้องถิ่นแห่งพื้นที่นั้นเข้าดำเนินการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในพื้นที่โดยเร็วเป็นลำดับแรก และแจ้งให้ผู้อำนวยการอำเภอและผู้อำนวยการจังหวัดทราบ ในกรณีที่ผู้อำนวยการท้องถิ่นมีความจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือหน่วยงานของรัฐที่อยู่   นอกเขตขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งพื้นที่ของตน ให้แจ้งผู้อำนวยการอำเภอ หรือผู้อำนวยการจังหวัด เพื่อสั่งการโดยเร็ว

                                  (๔) ในกรณีที่พื้นที่ที่เกิดหรือจะเกิดสาธารณภัยอยู่ในความรับผิดชอบของผู้อำนวยการท้องถิ่นหลายคน ผู้อำนวยการท้องถิ่นคนหนึ่งคนใด จะใช้อำนาจหรือปฏิบัติหน้าที่เข้าดำเนินการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยโดยเร็วไปพลางก่อนแล้วให้แจ้งผู้อำนวยการท้องถิ่นอื่นทราบโดยเร็ว

                                  (๕) เมื่อเกิดสาธารณภัยขึ้นในเขตพื้นที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งพื้นที่ใด ให้เป็นหน้าที่ของผู้อำนวยการท้องถิ่นซึ่งมีพื้นที่ติดต่อหรือใกล้เคียงกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งพื้นที่นั้น  ที่จะสนับสนุนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยที่เกิดขึ้น

                                  (๖) ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยโดยเร็ว และให้นำแผนปฏิบัติการในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และแผนเผชิญเหตุที่มีอยู่มาเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน

                                  (๗) ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่พิจารณาระเบียบงบประมาณและกฎหมายที่เกี่ยวข้องในการช่วยเหลือผู้ประสบภัย มุ่งประโยชน์ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนเป็นลำดับแรกๆ

                                  (๘) หากเหตุการณ์สาธารณภัยนั้นเกินขีดความสามารถและศักยภาพของท้องถิ่นนั้นๆ จะรับมือกับสาธารณภัยนั้นๆ ได้ และผู้อำนวยการท้องถิ่นได้รับการสนับสนุน ให้แจ้งผู้อำนวยการอำเภอเพื่อสั่งการให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นในเขตพื้นที่อำเภอให้การสนับสนุนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในพื้นที่ประสบสาธารณภัย เพื่อป้องกัน บรรเทา และลดผลกระทบจากสาธารณภัยให้ยุติโดยเร็ว

                          ทั้งนี้ แนวทางปฏิบัติในการประกาศเขตพื้นที่ประสบสาธารณภัย ปรากฎตามภาคผนวก ฐ

                   ๔.๓ การประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน

                         เมื่อมีการประกาศเขตพื้นที่ประสบสาธารณภัยแล้ว หากสาธารณภัยที่เกิดขึ้นนั้นเป็น      ภัยพิบัติตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน  พ.ศ. ๒๕๕๖ และที่แก้ไขเพิ่มเติม และมีความจำเป็นต้องใช้จ่ายเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเฉพาะหน้าของผู้ประสบภัย แต่มิได้มุ่งหมายที่จะชดใช้ความเสียหาย    แก่ผู้ใด ให้เป็นอำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัดร่วมกับคณะกรรมการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติจังหวัด (ก.ช.ภ.จ.) ดำเนินการประกาศเขตให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินตามหลักเกณฑ์และวิธีการ     ที่กระทรวงการคลังกำหนดต่อไป โดยมี “คณะกรรมการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติอำเภอ” (ก.จ.ภ.อ.)    มีนายอำเภอหรือปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้ากิ่งอำเภอเป็นประธาน มีผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอหรือกิ่งอำเภอนั้นหนึ่งคนสำรวจความเสียหายจากภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในอำเภอหรือ   กิ่งอำเภอที่รับผิดชอบและให้ความช่วยเหลือเสนอต่อ “คณะกรรมการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติจังหวัด”(ก.ช.ภ.จ.) เพื่อประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือฯ ต่อไป ทั้งนี้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้สำรวจความเสียหายจากภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินที่เกิดขึ้นในแต่ละพื้นที่ที่รับผิดชอบตามอำนาจหน้าที่ที่กำหนด โดยมี ก.ช.ภ.อ. เป็นผู้ตรวจสอบและกลั่นกรองการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติจากการสำรวจความเสียหายดังกล่าวข้างต้น

                   ๔.๔ การจัดการในภาวะฉุกเฉิน

                         4.๔.1  หลักการปฏิบัติ

                                  (1)  การรายงานตัวและทรัพยากรในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ให้เจ้าหน้าที่เจ้าพนักงาน และอาสาสมัครต่างๆ ที่มาร่วมปฏิบัติงานเข้ารายงานตัวที่ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์อำเภอในพื้นที่ที่เกิดภัย ก่อนรับมอบภารกิจและพื้นที่รับผิดชอบ ไปปฏิบัติ

                                  (2)  การเข้าควบคุมสถานการณ์ คำนึงถึงหลักการ ดังนี้

                                        (2.1) การปฏิบัติการระยะ ๒๔ ชั่วโมงแรก เน้นการค้นหาผู้รอดชีวิต การรักษาพยาบาลผู้บาดเจ็บ น้ำดื่ม อาหารปรุงสำเร็จ เสื้อผ้า ฯลฯ

                                        (2.2) การปฏิบัติการระยะ ๒๔-๔๘ ชั่วโมง (1-2 วัน) เน้นการค้นหาผู้รอดชีวิต และทรัพย์สิน สืบหาญาติ จัดตั้งศูนย์พักพิงชั่วคราว การรักษาพยาบาล การจัดการศพ อาหาร น้ำดื่ม ยารักษาโรค เครื่องครัว

                                        (2.๓) การปฏิบัติการระยะ ๔๘-๗๒ ชั่วโมง (๒-๓ วัน) เน้นการค้นหาผู้รอดชีวิต การสืบหาญาติ การรักษาพยาบาล การจัดการศพ การสงเคราะห์เบื้องต้น เงินชดเชย การค้นหาทรัพย์สินและข้อมูลการให้ความช่วยเหลือ ฯลฯ

                                        (2.4) การปฏิบัติการค้นหาหลังระยะ ๗๒ ชั่วโมงขึ้นไป (หลัง ๓ วัน
ขึ้นไป) ให้พิจารณาสนับสนุนการปฏิบัติการค้นหาระยะ 1-3 วันแรก โดยเน้นการช่วยเหลือชีวิตคนก่อน ตามด้วยทรัพย์สิน พร้อมทั้งสนับสนุนการปฏิบัติงานให้ครอบคลุมและทั่วถึง ตลอดจนการสับเปลี่ยนกำลังพลเพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างต่อเนื่อง  ฯลฯ

                         ๔.๔.๒ การควบคุมสถานการณ์และการเผชิญเหตุ

                                 เทศบาลตำบลถ้ำใหญ่ได้วางแผนการเผชิญเหตุสาธารณภัยที่เกิดขึ้นอย่างเป็นระบบ โดยกำหนดโครงสร้างองค์กร ข้อมูลการสนับสนุนการตัดสินใจ การควบคุม การสั่งการ และการใช้แนวทางปฏิบัติที่เหมาะสมเพื่อให้การจัดการในภาวะฉุกเฉินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้

                                      (๑) การรับแจ้งเหตุและการรายงาน

                                     ให้ผู้รับผิดชอบจัดทำรายงานข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ทั้งด้านสถานการณ์        สาธารณภัย ด้านการปฏิบัติการระงับบรรเทาสาธารณภัย ด้านการให้ความช่วยเหลือ และด้านอื่นๆ ที่จำเป็น โดยคำนึงถึงความถูกต้อง ชัดเจน รวดเร็ว โดยให้ชุมชน/หมู่บ้านสำรวจความเสียหายและความต้องการเบื้องต้นตามแบบรายงานเหตุด่วนสาธารณภัย แล้วรายงานต่อกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ทต.ถ้ำใหญ่

                                      (๒) การประเมินสถานการณ์ในภาวะฉุกเฉิน มีขั้นตอนดังต่อไปนี้

                                            (๒.๑) นำข้อมูลที่ได้ทั้งหมดมาวิเคราะห์สถานการณ์สาธารณภัยที่เกิดขึ้น       (๒.๒) กำหนดแนวทางปฏิบัติ เลือกทางที่ดีที่สุดและมีความเสี่ยงน้อยที่สุด

                                        (๒.๓) มีการคาดการณ์เพิ่มเติมในเรื่องปัจจัยความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น การขอรับการสนับสนุนเพิ่มเติม

                                        (๒.๔) การจัดการข้อมูล ให้หัวหน้าทีมเป็นผู้นำในการสอบถามสำรวจข้อมูลสถานที่ สิ่งที่เป็นอันตรายต่อนักกู้ภัย พร้อมทั้งบันทึกวัน เวลา ชื่อที่อยู่ผู้ให้ข้อมูล และรายงานข้อมูล           ให้ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉิน เทศบาลตำบลถ้ำใหญ่ทราบ มีการบรรยายสรุปให้ลูกทีมทราบ กำหนดพื้นที่อันตราย พื้นที่ปฏิบัติการ พื้นที่ปลอดภัย รวมทั้งตัดระบบต่างๆ ได้แก่ แก๊ส ไฟฟ้า ประปา เป็นต้น ซึ่งเป็นอันตรายต่อนักกู้ภัย

                                        (๒.๕) การสั่งการ ผู้สั่งการต้องเป็นคนเดียวที่สามารถชี้แจงการปฏิบัติได้ การสั่งการต้องชัดเจน ไม่คลุมเครือ มีความมั่นใจและเด็ดขาด หัวหน้าหน่วยหรือผู้ควบคุมชุดปฏิบัติการต้องรายงานตัว  ต่อผู้อยู่ในเหตุการณ์ และต่อผู้บัญชาการเหตุการณ์ ณ จุดเกิดเหตุ ทั้งก่อนการปฏิบัติและภายหลังเสร็จสิ้นภารกิจ

                                        (๒.๖) การรวบรวมข้อมูล ได้แก่ ปัญหาอุปสรรคข้อขัดข้อง สาเหตุของการเกิดเหตุการณ์ ผลการปฏิบัติ รวมทั้งแนวทางการแก้ไขและนำข้อเสนอแนะมาวิเคราะห์

                                  (๓)  การจัดการในภาวะฉุกเฉิน

                                       แนวทางปฏิบัติในการบัญชาการเหตุการณ์ (Incident Command)

                                       เทศบาลตำบลถ้ำใหญ่กำหนดโครงสร้างองค์กรปฏิบัติรับผิดชอบในการจัดการ      สาธารณภัยในภาวะฉุกเฉินในแบบโครงสร้างของศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉิน เทศบาลตำบลถ้ำใหญ่(การจัดการสาธารณภัยระดับ ๑) โดยมีผู้อำนวยการท้องถิ่นเป็นผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉิน เทศบาลตำบลถ้ำใหญ่มีอำนาจในการควบคุม สั่งการ และบัญชาการในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยที่เกิดขึ้นในพื้นที่ หากสาธารณภัยที่เกิดขึ้นในพื้นที่ เทศบาลตำบลถ้ำใหญ่ลุกลามขยายเป็นวงกว้าง ประชาชนได้รับผลกระทบจำนวนมาก และผู้อำนวยการจังหวัดตัดสินใจยกระดับการจัดการสาธารณภัยของเทศบาลตำบลถ้ำใหญ่เป็นการจัดการสาธารณภัยขนาดกลาง (ระดับ ๒) ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินท้องถิ่น เทศบาลตำบลถ้ำใหญ่จะรับข้อสั่งการจากกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดไปปฏิบัติ โดยได้กำหนดรูปแบบองค์กรปฏิบัติในระดับพื้นที่ ตามตารางที่ ๔-๑

 

ตารางที่ ๔-๑  :  รูปแบบองค์กรปฏิบัติในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยระดับพื้นที่

 

ระดับการจัดการ

สาธารณภัย

องค์กรรับผิดชอบ

การจัดการสาธารณภัย

ในภาวะปกติ

 

องค์กรรับผิดชอบ

ในภาวะฉุกเฉิน

(เมื่อเกิด

หรือคาดว่าจะเกิดสาธารณภัย)

ผู้บัญชาการ

(ผู้มีอำนาจ

ตามกฎหมาย)

ระดับ ๑

(อำเภอ/เทศบาลเข้าควบคุมสถานการณ์)

กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งพื้นที่

- กอปภ.ทน.  1 แห่ง

- กอปภ.ทม.  1 แห่ง

- กอปภ.ทต.  1 แห่ง

กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยอำเภอ (กอปภ.อ.) จำนวน...........แห่ง

- ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินท้องถิ่น

  โดย กอปภ.อปท. จัดตั้ง

 

 

- ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์อำเภอ  

  (ศบก.อ.) จำนวน. 1 .แห่ง

  โดย กอปภ.อ. จัดตั้ง

ผู้อำนวยการท้องถิ่น

 

 

ผู้อำนวยการอำเภอ

 

                                  (๔) การค้นหาและช่วยชีวิต

                                   - กำหนดเขตและกันเขตพื้นที่ประสบภัย ห้ามไม่ให้ผู้ที่ไม่มีหน้าที่และความรับผิดชอบเข้าพื้นที่ประสบภัย

                                   - สนธิกำลังเข้าปฏิบัติการค้นหาช่วยเหลือผู้ประสบภัยโดยเร็ว โดยสั่งใช้หน่วย กู้ชีพกู้ภัยเข้าปฏิบัติการในพื้นที่ประสบภัย พร้อมอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร ที่จำเป็นในการกู้ชีพกู้ภัย

                                   - กรณีมีสถานการณ์รุนแรง ควรจัดหาอุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงมาใช้ในการกู้ภัย

ตารางที่ ๔-๑ :  การปฏิบัติขณะเกิดภัยของเทศบาลตำบลถ้ำใหญ่

ลำดับที่

การปฏิบัติ

ส่วนงานที่รับผิดชอบ

หน่วยรับผิดชอบ/ผู้รับผิดชอบในพื้นที่

(ระบุเบอร์โทรศัพท์)

จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินท้องถิ่น (ตามข้อ 4.1)

ส่วนอำนวยการ

ทต.ถ้ำใหญ่

รับแจ้งเหตุและรายงานสถานการณ์

  จัดเตรียมเจ้าหน้าที่เพื่อรับแจ้งเหตุและรายงานสถานการณ์ให้กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เทศบาลตำบลถ้ำใหญ่และกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยอำเภอทราบเพื่อจะได้เสนอ    ผู้ว่าราชการจังหวัด/ผู้อำนวยการจังหวัด พิจารณาประกาศเขตพื้นที่ประสบสาธารณภัย และประกาศเขตพื้นที่การให้ความช่วยเหลือฯ ต่อไป            จนกว่าสถานการณ์สิ้นสุด

ส่วนอำนวยการ

ทต.ถ้ำใหญ่

075-773229

ออกสำรวจพื้นที่และประเมินสถานการณ์

จัดชุดเคลื่อนที่เร็วเข้าสำรวจพื้นที่และประเมินสถานการณ์ เพื่อวางแผนรับมือกับสถานการณ์ภัย

ส่วนอำนวยการ

งานป้องกันฯ ทต.ถ้ำใหญ่

089-6461926

ประเมินสถานการณ์ในภาวะฉุกเฉิน

  วิเคราะห์และประเมินสถานการณ์การเกิดสาธารณภัยเพื่อการตัดสินใจแก้ปัญหา โดยพิจารณาเรื่องความรุนแรง ระยะเวลาการเกิดภัย พื้นที่และประชาชนผู้ที่จะได้รับผลกระทบ ความเปราะบาง และความสามารถของพื้นที่ในการรับภัย แนวโน้มการเกิดภัยซ้ำขึ้นอีก ภัยที่ตามมา รวมถึงภัยที่มีความซับซ้อน เพื่อกำหนดแนวทางการตอบโต้และการแจ้งเตือนภัย

ส่วนอำนวยการ

งานป้องกันฯ ทต.ถ้ำใหญ่

089-6461926

 บริหารจัดการข้อมูลข่าวสารในภาวะฉุกเฉินอย่างถูกต้อง ชัดเจน และเป็นระบบ

ส่วนอำนวยการ

ทต.ถ้ำใหญ่

 แจ้งเตือนประชาชน

  (๑) ตรวจสอบข้อมูลยืนยันความถูกต้องของการเกิดสาธารณภัยจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกแหล่ง ก่อนแจ้งเตือนผ่านช่องทางการสื่อสารทุกชนิด

  (๒) ดำเนินการแจ้งเตือนภัยไปยังชุมชนพื้นที่ประสบภัยและพื้นที่ข้างเคียง โดยสื่อ ข่ายการสื่อสาร เครื่องมืออุปกรณ์เตือนภัยที่มีอยู่ของชุมชน เช่น วิทยุชุมชน หอกระจายข่าว หอเตือนภัย โทรโข่ง เป็นต้น

  (๓) ข้อมูลการแจ้งเตือนภัยต้องชัดเจน ทันเวลา ถูกต้อง และเข้าใจง่าย    บ่งบอกถึงอันตรายที่กำลังจะเกิดขึ้นกับชีวิตและทรัพย์สิน วิธีการปฏิบัติของ

 

ประชาชน รวมทั้งวิธีการแจ้งเหตุ โดยต้องแจ้งเตือนจนกว่าสถานการณ์ภัย จะสิ้นสุด

  (๔) ในกรณีเกิดไฟฟ้าดับ การสื่อสาร เครื่องมือ สัญญาณเตือนภัย          ไม่สามารถใช้ได้ ให้ใช้สัญลักษณ์การเตือนภัย เช่น ธง นกหวีด หรือการเตือนภัยอื่นที่ได้มีการซักซ้อมความเข้าใจกับประชาชนไว้แล้ว เป็นต้น

ส่วนอำนวยการ

งานป้องกันฯ ทต.ถ้ำใหญ่

089-6461926

อพยพผู้ประสบภัย

กรณีเมื่อเกิดหรือใกล้จะเกิดสาธารณภัยในพื้นที่ และมีผู้อยู่อาศัยในพื้นที่นั้นจะเกิดอันตราย โดยอพยพเฉพาะเท่าที่จำเป็นแก่การป้องกันและบรรเทา   สาธารณภัย พร้อมทั้งรายงานผู้อำนวยการท้องถิ่น ผู้อำนวยการอำเภอ ตามลำดับ รายละเอียดปรากฏตาม ข้อ ๔.๗

ส่วนปฏิบัติการ

งานป้องกันฯ ทต.ถ้ำใหญ่

089-6461926

กำหนดพื้นที่เตรียมปฏิบัติการ (Staging Area)

เป็นพื้นที่เตรียมปฏิบัติการจัดตั้งขึ้นเพื่อใช้เป็นสถานที่จัดเก็บและพักรอชั่วคราวของทรัพยากร (วัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักกล ยานพาหนะ)   ที่ได้มาและพร้อมใช้ เพื่อรอการสั่งใช้ทรัพยากร

ส่วนอำนวยการ

ทต.ถ้ำใหญ่

075-773229

ระดมทรัพยากรเข้าสนับสนุนการจัดการสาธารณภัย

  (๑) ระดมทรัพยากร ทั้งกำลังคน วัสดุอุปกณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร มายังจุดรวบรวมทรัพยากรเพื่อรอรับการมอบหมายภารกิจ ให้พร้อมใช้ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อรอการสั่งใช้เข้าสนับสนุนการปฏิบัติการในพื้นที่ประสบภัย

  (๒) ระดมทรัพยากรเข้าพื้นที่เตรียมปฏิบัติการ (Staging Area) พร้อมทั้งจัดเตรียม เครื่องจักรกล ยานพาหนะ วัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ และพลังงาน เพื่อจัดการสาธารณภัย

ส่วนสนับสนุน

ทต.ถ้ำใหญ่

075-773229

๑๐

กำหนดและแบ่งโซนพื้นที่ในการสนับสนุนการเผชิญเหตุ

ออกเป็น 4 โซน ประกอบด้วย    

      โซนที่ ๑ ประกอบด้วย หมู่ 1,8 มีผู้ใหญ่บ้านหมู่ 1,8 รับผิดชอบพื้นที่

      โซนที่ ๒ ประกอบด้วย หมู่ 2,7 มีผู้ใหญ่บ้านหมู่ 2,7รับผิดชอบพื้นที่

      โซนที่ ๓ ประกอบด้วย หมู่ 3,9 มีผู้ใหญ่บ้านหมู่ 3,9รับผิดชอบพื้นที่

      โซนที่ ๔ ประกอบด้วย หมู่ 6,4,5,10มีผู้ใหญ่บ้านหมู่ 6,4,5,10 รับผิดชอบพื้นที่

หมายเหตุ : สามารถปรับโซนพื้นที่ได้ตามสถานการณ์และขนาดของพื้นที่

ส่วนอำนวยการ

ทต.ถ้ำใหญ่

075-773229

๑๑

จัดชุดปฏิบัติการเคลื่อนที่เร็วเข้าปฏิบัติการจัดการสาธารณภัย

  สั่งให้หน่วยกู้ชีพกู้ภัยเข้าปฏิบัติการในพื้นที่ประสบภัย เพื่อควบคุมสถานการณ์ไม่ให้ลุกลามขยายตัว

 

 

 

 

ส่วนปฏิบัติการ

งานป้องกันฯ ทต.ถ้ำใหญ่

089-6461926

 

ให้เจ้าหน้าที่ เจ้าพนักงาน และอาสาสมัครต่างๆ ที่มาร่วมปฏิบัติงาน        เข้ารายงานตัวที่ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉิน เทศบาลตำบลถ้ำใหญ่ก่อนรับมอบภารกิจและพื้นที่รับผิดชอบไปปฏิบัติ รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ในการเข้าสนับสนุนจัดการสาธารณภัย

 

ส่วนปฏิบัติการ

งานป้องกันฯ ทต.ถ้ำใหญ่

089-6461926

๑๒

การเผชิญเหตุ

 (๑) การปฏิบัติการระยะ ๒๔ ชั่วโมงแรก ให้ความสำคัญในการค้นหาผู้รอดชีวิตเป็นลำดับแรก ต่อด้วยการรักษาพยาบาลผู้บาดเจ็บ มีแนวทางปฏิบัติ ดังนี้

 (๑.๑) กำหนดเขตและกันเขตพื้นที่ประสบภัย ห้ามมิให้ผู้ที่ไม่มีหน้าที่และความรับผิดชอบที่เกี่ยวข้องเข้าพื้นที่ประสบภัยโดยเด็ดขาด

 (๑.๒) สนธิกำลังเข้าปฏิบัติการค้นหาช่วยเหลือผู้ประสบภัยโดยเร็ว ดังนี้

         (๑.๒.๑) สั่งการให้หน่วยกู้ชีพกู้ภัยที่มีศักยภาพเข้าปฏิบัติงาน  ในพื้นที่ประสบภัย

         (๑.๒.๒) สั่งการให้เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบเครื่องมือ เครื่องจักร  ที่จำเป็นในการกู้ชีพกู้ภัย เข้าปฏิบัติงานในพื้นที่ประสบภัย

         (๑.๒.๓) อพยพประชาชนและสัตว์เลี้ยงตามความจำเป็นของสถานการณ์ภัย

                (๑.๒.๔) กรณีพื้นที่ใดเป็นพื้นที่วิกฤต ไม่สามารถเข้าพื้นที่     โดยทางรถยนต์หรือทางเรือได้ ให้ประสานขอรับการสนับสนุนเฮลิคอปเตอร์จากหน่วยงานทหารหรือตำรวจในพื้นที่ หรือพื้นที่ใกล้เคียงเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างเร่งด่วน

                (๑.๒.๕) จัดตั้งศูนย์พักพิงชั่วคราวแก่ผู้ประสบภัยที่บ้านเรือนเสียหายอย่างเร่งด่วนเป็นลำดับแรก และจัดระเบียบศูนย์พักพิงชั่วคราว พร้อมทั้งลงทะเบียนผู้อพยพ

                (๑.๒.๖) ระดมกำลังแพทย์และพยาบาลจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลใกล้เคียง เข้าช่วยปฏิบัติงานในพื้นที่ประสบภัย

                (๑.๒.๗) กรณีโครงสร้างพื้นฐานได้รับความเสียหายให้เร่งซ่อมแซมเส้นทางคมนาคม ระบบสื่อสาร ไฟฟ้า และประปา แล้วแต่กรณี   ให้สามารถใช้การได้หรือจัดทำระบบสำรองเพื่อให้ชุดปฏิบัติการสามารถปฏิบัติงานในพื้นที่ได้

                (๑.๒.๘) จัดเตรียมเครื่องอุปโภคบริโภคพื้นฐาน ตลอดจนจัดหาอาหารที่ปรุงสำเร็จ น้ำดื่ม เครื่องยังชีพที่จำเป็นให้แก่ประชาชนและเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ประสบภัยให้เพียงพอและทั่วถึง

 

  (๒) การปฏิบัติการระยะ ๒๔ – ๔๘ ชั่วโมง (๑ – ๒ วัน) ให้ความสำคัญในการค้นหาผู้รอดชีวิตและทรัพย์สิน การสืบหาญาติ การจัดตั้งศูนย์พักพิงชั่วคราว การรักษาพยาบาล การจัดการศพ อาหาร น้ำดื่ม ยารักษาโรค เครื่องครัว ข้อมูลสถานการณ์ มีแนวทางปฏิบัติ ดังนี้

        (๒.๑) สำรวจความต้องการของผู้ประสบภัยในเบื้องต้น เพื่อกำหนดมาตรการช่วยเหลืออย่างต่อเนื่องในช่วงระหว่างเกิดภัยและจัดทำบัญชี    การช่วยเหลือผู้ประสบภัย

        (๒.๒) จัดเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานด้านการรักษาพยาบาล และเวชภัณฑ์  ที่จำเป็นมายังพื้นที่ประสบภัยและเตรียมสถานพยาบาลสำรองให้เพียงพอ

        (๒.๓) จัดส่งปัจจัยสี่ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต เช่น อาหาร น้ำดื่ม เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค เป็นต้น มายังศูนย์พักพิงชั่วคราว

        (๒.๔) ตรวจสอบเส้นทางคมนาคมที่ได้รับความเสียหายจาก           สาธารณภัย พร้อมทั้งติดป้ายเตือน หรือวางแผนปิดกั้นช่องทางจราจร       ให้ประชาชนผู้ใช้เส้นทางทราบ จัดเจ้าหน้าที่ตำรวจหรืออาสาสมัครอำนวยความสะดวกการจราจรในจุดอันตราย

        (๒.๕) รักษาความสงบเรียบร้อยและจัดการจราจรในพื้นที่ประสบภัยและศูนย์พักพิงชั่วคราว

        (๒.๖) ตั้งศูนย์ข้อมูลผู้ประสบภัย เพื่อรวบรวมและเป็นแหล่งข้อมูล   ในการติดต่อประสานงานให้ประชาชนสามารถสอบถามข้อมูลผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตได้

  (๓) การปฏิบัติการระยะ ๔๘ – ๗๒ ชั่วโมง (๒ – ๓ วัน) ให้ความสำคัญกับการค้นหาผู้รอดชีวิตอย่างต่อเนื่องจากปฏิบัติการระยะ ๒๔ – ๔๘ ชั่วโมงแรก การสืบหาญาติ การรักษาพยาบาล การจัดการศพ การสงเคราะห์เบื้องต้น อาหาร น้ำดื่ม ยารักษาโรค เงินชดเชย การค้นหาทรัพย์สิน และข้อมูลการให้ความช่วยเหลือ มีแนวทางปฏิบัติ ดังนี้

        (๓.๑) กรณีมีผู้เสียชีวิตจำนวนมากให้จัดเตรียมสถานที่และอุปกรณ์ เก็บรักษาศพในระยะแรก (วัดและตู้แช่ศพ) พร้อมทั้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจชันสูตรเบื้องต้น บันทึกข้อมูลศพ การเก็บรักษาหลักฐาน และเตรียมข้อมูลทั้งหมดเพื่อการตรวจพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคล

        (๓.๒) การจัดหน่วยบริการประกันสังคมเคลื่อนที่และให้บริการทางการแพทย์

        (๓.๓)  การประเมินสถานการณ์ภัยอย่างใกล้ชิด ตลอดจนประสาน การช่วยเหลือ รับเรื่องราวร้องทุกข์ ประสานรับข้อมูลความเสียหายเบื้องต้น ความต้องการเบื้องต้น

 

 

  (๔) การปฏิบัติการระยะ ๗๒ ชั่วโมง (๓ วัน) ขึ้นไป ให้พิจารณาสนับสนุนการปฏิบัติการค้นหาระยะ ๒๔ ชั่วโมงแรก (๑ วัน) เป็นลำดับแรกก่อน    การปฏิบัติการค้นหาระยะ ๒๔ – ๔๘ ชั่วโมง (๑ – ๒ วัน) และการปฏิบัติการค้นหาระยะ ๔๘ – ๗๒ ชั่วโมง (๒ – ๓ วัน) ตามลำดับ โดยเน้นการช่วยเหลือชีวิตคนก่อน ตามด้วยทรัพย์สิน พร้อมทั้งสนับสนุนการปฏิบัติงานให้ครอบคลุมและทั่วถึง ตลอดจนการสับเปลี่ยนกำลังพลเพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่อง

ส่วนปฏิบัติการ

งานป้องกันฯ ทต.ถ้ำใหญ่

089-6461926

๑๓

ปกป้องสถานที่สำคัญ เช่น โรงพยาบาล  โรงเรียน วัด เขตพระราชฐาน แหล่งโบราณสถาน (ถ้ามี) เป็นต้น และปกป้องระบบสาธารณูปโภค  เช่น ระบบไฟฟ้า  ระบบประปา เป็นต้น

ส่วนปฏิบัติการ

งานป้องกันฯ ทต.ถ้ำใหญ่

089-6461926

๑๔

การจัดตั้งและบริหารจัดการศูนย์พักพิงชั่วคราว (กรณีที่มีการอพยพ)

รายละเอียดตามข้อ 4.๑๐

ส่วนสนับสนุน

ทต.ถ้ำใหญ่

075-773229

๑๕

สงเคราะห์ช่วยเหลือผู้ประสบภัย

  สงเคราะห์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยและจัดส่งปัจจัยสี่ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต เช่น อาหาร น้ำดื่ม และเครื่องนุ่งห่ม เป็นต้น ไปยังพื้นที่ประสบภัย

ส่วนสนับสนุน

ทต.ถ้ำใหญ่

075-773229

๑๖

การประเมินความเสียหายและความต้องการความช่วยเหลือในช่วงขณะเกิดภัย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งพื้นที่สำรวจและจัดทำข้อมูลความต้องการของผู้ประสบภัยในเบื้องต้น และรายงานให้อำเภอเพื่อประกอบการร้องขอการสนับสนุน และนำไปกำหนดเป็นมาตรการและแนวทางในการช่วยเหลือ เช่น ความช่วยเหลือ ด้านอาหาร น้ำดื่ม การรักษาพยาบาล สุขอนามัยและการกำจัดสิ่งปฏิกูล เป็นต้น

ส่วนอำนวยการ

ทต.ถ้ำใหญ่

075-773229

๑๗

จัดตั้งศูนย์ประสานข้อมูลร่วม (Joint Information Center : JIC)

ณ พื้นที่ที่เกิดเหตุ ซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับ ดูแล ของศูนย์ข้อมูลประชาสัมพันธ์ร่วม เพื่อทำหน้าที่ประสานข้อมูลข่าวสารสาธารณะที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินกิจกรรมการจัดการเหตุฉุกเฉิน และเป็นศูนย์ที่อยู่ใกล้ชิดกับเหตุการณ์ สามารถเข้าถึงข้อมูลที่มีการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา จึงเป็นศูนย์กลางของการติดต่อสำหรับสื่อข่าวสารทุกประเภทที่ได้รับการกลั่นกรอง และรับรองข้อมูล เพื่อกระจายข้อมูลข่าวสารให้เกิดความถูกต้อง รวดเร็ว เป็นปัจจุบัน และต่อเนื่อง โดยให้เจ้าหน้าที่ข้อมูลข่าวสารสาธารณะเข้ามาอยู่รวมกันใน  ศูนย์ประสานข้อมูลร่วม

ศูนย์ข้อมูลประชาสัมพันธ์ร่วม

ทต.ถ้ำใหญ่

075-773229

๑๘

-  กรณีมีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก จัดให้มีการพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลให้เป็นไปตามอำนาจหน้าที่การปฏิบัติของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และหรือ ตามบันทึกข้อตกลงระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

- กำหนดให้มีสถานที่รองรับศพ เก็บรักษาศพ (วัดและตู้แช่ศพ) และการเคลื่อนย้ายศพ หรือนำศพไปตรวจพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลตามระเบียบกฎหมายที่เกี่ยงข้องอย่างเป็นระบบ

ส่วนปฏิบัติการ

งานป้องกันฯ ทต.ถ้ำใหญ่

089-6461926

๑๙

เมื่อสาธารณภัยที่เกิดขึ้นในพื้นที่ยุติแล้ว ให้ผู้อำนวยการท้องถิ่นรายงานสถานการณ์สาธารณภัยให้ผู้อำนวยการอำเภอทราบ และเมื่อมีการประกาศหรือยืนยันสถานการณ์สาธารณภัยในพื้นที่ยุติลงแล้ว ให้ดำเนินการอพยพประชาชนกลับที่ตั้งอย่างปลอดภัย

ส่วนอำนวยการ

ทต.ถ้ำใหญ่

075-773229

๒๐

อพยพกลับ กรณีสถานการณ์สาธารณภัยยุติ

  เมื่อได้รับแจ้งข่าวการยกเลิกสถานการณ์สาธารณภัยอย่างชัดเจน ให้ผู้นำชุมชนหรือกลุ่มผู้นำอพยพรีบแจ้งผู้อพยพเพื่อเตรียมความพร้อมในการอพยพกลับไปสู่ที่อยู่อาศัยต่อไป โดยจัดระเบียบและลำดับก่อนหลังการอพยพกลับ พร้อมทั้งประสานงานกับเจ้าหน้าที่ที่ดำเนินการควบคุมดูแลการอพยพกลับ

ส่วนปฏิบัติการ

งานป้องกันฯ ทต.ถ้ำใหญ่

089-6461926

๒๑

หากสถานการณ์สาธารณภัยมีความรุนแรง และหรืออาจจะเกิดสาธารณภัยซ้ำซ้อน เกินขีดความสามารถของ อปท. ให้ร้องขอขอรับการสนับสนุนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นข้างเคียงหรืออำเภอ

  ให้ประสานขอรับการสนับสนุนจากกองอำนวยการป้องกันและบรรเทา    สาธารณภัย (ระบุชื่อ อปท. ข้างเคียง) และกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยอำเภอเพื่อดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป

 

ส่วนอำนวยการ

ทต.ถ้ำใหญ่

075-773229

                    

                     ๔.๕ การสื่อสารในภาวะฉุกเฉิน

                           การเตรียมความพร้อมด้านระบบและเครื่องมือสื่อสาร เทศบาลตำบลถ้ำใหญ่มอบหมายให้ นายทนงศักดิ์ บุญทรง เป็นผู้กำกับดูแลและใช้งานความถี่วิทยุ 161.475 Mhz เพื่อใช้เป็นความถี่วิทยุกลางสำหรับติดต่อประสานงานระหว่างหน่วยงานของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชน สำหรับการประสานงาน  ด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ตลอดจนกิจการอื่นๆ ในภาวะปกติ และในภาวะไม่ปกติ โดยกำหนดให้ นายธีระยุทธ ไตรสนาคม เป็นผู้ควบคุมดูแลการใช้งานภายใน เทศบาลตำบลถ้ำใหญ่

                           ๔.๕.๑ การปฏิบัติงานด้านการสื่อสารกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน

                                   (๑) จัดตั้งศูนย์สื่อสารและจัดให้มีระบบสื่อสารหลัก ระบบสื่อสารรอง และระบบสื่อสารอื่นๆ ที่จำเป็นให้ใช้งานได้ตลอด ๒๔ ชั่วโมง ให้สามารถเชื่อมโยงระบบสื่อสารดังกล่าวกับหน่วยงานอื่นได้ตามปกติโดยเร็วอย่างทั่วถึงทุกพื้นที่

                                   (๒) ใช้โครงข่ายสื่อสารทางโทรศัพท์ โทรสาร และวิทยุสื่อสารเป็นหน่วยงานหลัก

                                       หน่วยงานหลักที่วางระบบสื่อสารในภาวะฉุกเฉิน ได้แก่เทศบาลตำบลถ้ำใหญ่หมายเลขโทรศัพท์ 075-773229 โทรสาร 075-773229 ต่อ 18

 

                            ๔.๕.๒ หน่วยงานสนับสนุน ได้แก่

 

ลำดับที่

ชื่อหน่วยงาน

 

นามเรียกขาน

ความถี่วิทยุ

โทรศัพท์

โทรสาร

หมายเหตุ

1

ไต้เต็กตึ้ง

ไต้เต็ก

168.775

075-434602

 

 

2

ประชาร่วมใจ

ประชา

168.275

  075-423432

 

 

3

สยามร่วมใจ

สยาม

168.475

075-420255

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

       
     
   

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

แผนภาพที่ ๔-๓ : ผังสื่อสารในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เทศบาลตำบลถ้ำใหญ่

                     ๔.๖ การประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารในภาวะฉุกเฉิน

                           เป็นระบบและกระบวนการกระจายข้อมูลข่าวสารที่เกิดหรือคาดว่าจะเกิดสาธารณภัยขึ้น ให้ส่วนราชการและประชาชนได้รับรู้และเข้าใจสถานการณ์ โดยผ่านช่องทางการสื่อสารที่กำหนดไว้ เช่น โทรทัศน์ วิทยุ หอกระจายข่าว ฯลฯ และวิธีอื่นๆ เพื่อให้ประชาชนรับทราบ เข้าใจในสถานการณ์ที่ถูกต้องและลดความตื่นตระหนก โดยมอบให้ฝ่ายประชาสัมพันธ์ของ เทศบาลตำบลถ้ำใหญ่เป็นหน่วยงานหลัก ดำเนินการ ดังนี้

                           ๔.๖.๑ จัดตั้งศูนย์ข้อมูลประชาสัมพันธ์ร่วม (Join Information Center : JIC) ณ พื้นที่ที่เกิดเหตุ ซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับ ดูแล ของศูนย์ข้อมูลประชาสัมพันธ์ร่วม เพื่อทำหน้าที่ประสานข้อมูลข่าวสารสาธารณะ   ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินกิจกรรมการจัดการเหตุฉุกเฉินและเป็นศูนย์ที่อยู่ใกล้ชิดกับเหตุการณ์ สามารถเข้าถึงข้อมูลที่มีการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา จึงเป็นศูนย์กลางของการติดต่อสำหรับสื่อข่าวสารทุกประเภทที่ได้รับ การกลั่นกรอง และรับรองข้อมูล เพื่อกระจายข้อมูลข่าวสารให้เกิดความถูกต้อง รวดเร็ว เป็นปัจจุบัน และต่อเนื่อง โดยให้เจ้าหน้าที่ข้อมูลข่าวสารสาธารณะควรต้องเข้ามาอยู่รวมกันในศูนย์ประสานข้อมูลร่วม

                           ๔.๖.๒ ตรวจสอบยืนยันความถูกต้องของข้อมูลการเกิดภัยจากกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชน อาสาสมัครแจ้งเตือนภัย กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยระดับเหนือขึ้นไป รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อนแจ้งเตือนภัยผ่านช่องทางการสื่อสารทุกชนิด

                           ๔.๖.๓ ดำเนินการแจ้งเตือนการเกิดภัยไปยังชุมชนพื้นที่ที่ประสบภัยและพื้นที่ข้างเคียง โดยสื่อ ข่ายการสื่อสาร เครื่องมืออุปกรณ์การเตือนภัยที่มีอยู่ของชุมชน เช่น วิทยุชุมชน หอกระจายข่าว หอเตือนภัย โทรโข่ง เป็นต้น

                           ๔.๖.๔ ข้อมูลการแจ้งเตือนภัยนั้นต้องชัดเจน ทันเวลา ถูกต้อง และเข้าใจง่าย เป็นข้อมูลที่บอกถึงอันตรายที่กำลังเกิดขึ้นกับชีวิตและทรัพย์สิน อันได้แก่ ลักษณะ ขนาด จุดที่เกิดภัย รัศมีความเสียหายตามพื้นที่การปกครอง ช่วงเวลา ระยะเวลา ภัยจะรุนแรงยิ่งขึ้นหรือไม่ และประชาชนต้องปฏิบัติอย่างไร หรือต้องมีการอพยพหรือไม่ รวมทั้งวิธีการแจ้งเหตุ หมายเลขโทรศัพท์ และการสื่อสารอื่นๆ โดยแจ้งเตือนภัยจนกว่าสถานการณ์ภัยจะสิ้นสุด

                           ๔.๖.๕ จัดให้มีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบในการให้ข้อมูลเท่าที่จำเป็นเกี่ยวกับการดำเนินการของศูนย์บัญชาการเหตุการณ์แก่สื่อมวลชน และประชาชน รวมทั้งรับฟังข้อคิดเห็น ข้อมูล ข้อเรียกร้องของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ภัยหรือจากการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่

                           ๔.๖.๖ กรณีที่มีข่าวเชิงลบ ให้ฝ่ายประชาสัมพันธ์ เทศบาลตำบลถ้ำใหญ่แจ้งข้อมูลข่าวสาร และชี้แจงข้อเท็จจริงให้สาธารณชนทราบ

                           ๔.๖.๗ ในกรณีเกิดไฟฟ้าดับ การสื่อสาร เครื่องมือ สัญญาณเตือนภัยไม่สามารถใช้ได้   ให้ใช้สัญลักษณ์การเตือนภัย เช่น ธง นกหวีด หรือการเตือนภัยอื่นที่ได้มีการซักซ้อมความเข้าใจกับประชาชนไว้แล้ว              ๔.๗ การอพยพ

                           เมื่อเกิดหรือคาดว่าจะเกิดสาธารณภัยขึ้นในพื้นที่ใด และการอาศัยอยู่ในเขตพื้นที่นั้น   จะเป็นอันตราย ให้ผู้มีอำนาจตามมาตรา ๒๘ แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. ๒๕๕๐    (ผู้บัญชาการ ผู้อำนวยการ และเจ้าพนักงานซึ่งได้รับมอบหมาย) มีอำนาจสั่งอพยพผู้ซึ่งอยู่ในพื้นที่นั้นออกไปจากพื้นที่อย่างเป็นระเบียบ ทั้งนี้ ให้ดำเนินการอพยพไม่ต่ำกว่า ๑๒  ชั่วโมงก่อนเกิดสาธารณภัย และจัดให้มีกองกำลังเจ้าหน้าที่เข้ารักษาความสงบเรียบร้อย เพื่อป้องกันทรัพย์สินของประชาชน ให้ผู้นำชุมชนและหน่วยงานปฏิบัติตามขั้นตอน ดังนี้

 

                           ๔.๗.๑ การตัดสินใจอพยพ

                                   (๑) การตัดสินใจอพยพในเขต เทศบาลตำบลถ้ำใหญ่กำหนดให้นายกเทศมนตรี  เทศบาลตำบลถ้ำใหญ่ในฐานะผู้อำนวยการท้องถิ่น หรือผู้ได้รับมอบหมายเป็นผู้ตัดสินใจและควบคุมการอพยพประชาชนออกจากพื้นที่ประสบภัย โดยมีปลัดเทศบาล ตำบลถ้ำใหญ่ ในฐานะผู้ช่วยผู้อำนวยการท้องถิ่น เป็นผู้ช่วย

                                   (๒) การตัดสินใจอพยพในเขตพื้นที่หมู่บ้าน กำหนดให้ผู้ใหญ่บ้านแต่ละหมู่บ้านเป็นผู้ตัดสินใจและควบคุมการอพยพประชาชนออกจากพื้นที่ประสบภัย โดยมีผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านและสมาชิกสภา เทศบาลตำบลถ้ำใหญ่เป็นผู้ช่วย ทุกขั้นตอนการปฏิบัติต้องประสานการปฏิบัติและรายงานสถานการณ์ไปยังนายกเทศมนตรี เทศบาลตำบลถ้ำใหญ่ในฐานะผู้อำนวยการท้องถิ่น เบอร์โทรศัพท์. 089-8665497

                           ๔.๗.๒ เมื่อได้รับข้อมูลข่าวสารแจ้งเตือน ประชาชนต้องเตรียมตัวไว้ให้พร้อมสำหรับ  การอพยพ โดยจัดเตรียมกระเป๋าที่มีของมีค่า เงินสด เอกสารสำคัญ ของใช้จำเป็นส่วนตัว ยารักษาโรค อาหาร น้ำดื่ม เท่าที่จำเป็น รวมทั้งดูแลสภาพจิตใจในครอบครัวให้อยู่ในความสงบ ก่อนออกจากบ้านเรือนต้องปิดบ้านเรือนให้มิดชิดที่สุดเท่าที่จะทำได้ และเดินทางไปรวมกัน ณ จุดนัดหมายประจำชุมชนโดยเร็ว

                           ๔.๗.๓ หน่วยอพยพ ต้องศึกษาเส้นทางที่จะเข้าสู่พื้นที่เป้าหมาย และตรวจสอบสภาพของยานพาหนะสำหรับการอพยพให้พร้อมปฏิบัติหน้าที่อยู่ตลอดเวลา รวมทั้งติดต่อประสานงานกับผู้นำชุมชนหรือผู้นำหมู่บ้านทุกระยะ ประชาสัมพันธ์ให้คำแนะนำในขั้นตอนการอพยพต่อผู้อพยพ พร้อมทั้งจัดระเบียบและจัดแบ่งประเภทของบุคคลตามลำดับความเร่งด่วน เช่น ผู้ป่วยทุพลภาพ คนพิการ คนชรา เด็ก และสตรี ตามลำดับ ซึ่งเป็นกลุ่มเปราะบาง และดำเนินการปฏิบัติตามขั้นตอนการอพยพที่กำหนดไว้

                           ๔.๗.๔ จัดระเบียบสถานที่อพยพและการอำนวยความปลอดภัย ดังนี้

                                   (๑) ทำความสะอาดสถานที่ปลอดภัย

                                   (๒) จัดระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน เช่น ไฟฟ้า น้ำประปา เป็นต้น

                                   (๓) จัดให้มีการลงทะเบียนผู้อพยพ เพื่อตรวจสอบจำนวนผู้อพยพที่ยังติดค้าง  อยู่ภายในพื้นที่เสี่ยงภัย โดยมีการจัดทำแบบฟอร์มลงทะเบียนไว้ล่วงหน้า

                                   (๔) จัดพื้นที่อพยพให้เป็นสัดส่วนแต่ละครอบครัว หรือแต่ละชุมชน

                                   (๕) จัดระเบียบเวรยามรักษาความปลอดภัย โดยอาจขอกำลังจากผู้อพยพ

                            ๔.๗.๕ จัดเจ้าหน้าที่อาสาสมัครดูแลความปลอดภัยบ้านเรือนของผู้อพยพ และควรประสานเจ้าหน้าที่ตำรวจในท้องที่เพื่อจัดส่งกำลังสายตรวจ อปพร. หรืออาสาสมัคร ไปดูแลบ้านเรือนผู้อพยพเป็นระยะ แต่ถ้าสถานการณ์ล่อแหลมมีความเสี่ยง ควรงดออกปฏิบัติหน้าที่โดยเด็ดขาด แต่ถ้าสามารถออกปฏิบัติภารกิจได้ภายหลังเสร็จสิ้นภารกิจแล้วควรนำข้อมูลกลับมารายงานให้ผู้อพยพทราบโดยทันที เพื่อป้องกันมิให้    ผู้อพยพเกิดความกังวลต่อความปลอดภัยในทรัพย์สินของตน

                             ๔.๗.๖ จัดให้มีการอำนวยความสะดวกแก่ผู้อพยพ ให้หน่วยงานอพยพอำนวย      ความสะดวกด้านปัจจัยสี่ ปฐมพยาบาล ช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ บริการอาหารและน้ำดื่ม การดูแลรักษาความสะอาดให้ถูกสุขลักษณะ จัดเป็นสัดส่วนบริเวณปรุงอาหาร จัดระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน จัดระบบการรับของบริจาคอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม

                            ๔.๗.๗ รายงานความเคลื่อนไหวของสถานการณ์สาธารณภัยอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่องจากสื่อทุกช่องทางรวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และนำข้อมูลข่าวสารดังกล่าวแจ้งให้ผู้อพยพทราบทุกระยะ เพื่อให้ผู้อพยพคลายความวิตกกังวล

                       ๔.๘ แนวทางปฏิบัติในการประเมินความเสียหายและความต้องการความช่วยเหลือ (Damage and Need Assessment : DANA)

                             กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เทศบาลตำบลถ้ำใหญ่จะประเมินความเสียหายและความต้องการความช่วยเหลือภายในพื้นที่ประสบภัย โดยวิเคราะห์ผลกระทบจากความเสียหาย     ที่เกิดขึ้นจากสาธารณภัย มีหลักการปฏิบัติ ดังนี้

                             ๔.๘.๑ การประเมินแบบรวดเร็ว (rapid assessment) จะกระทำทันทีภายหลังมีเหตุการณ์สาธารณภัยเกิดขึ้น โดยมากภายในสัปดาห์แรกของการเกิดภัย เป็นการประเมินแบบคร่าวๆ          เพื่อรวบรวมข้อมูลความต้องการ สิ่งที่ควรปฏิบัติหลังจากเกิดภัย และทรัพยากรที่จำเป็นทุกๆ ด้าน               ทั้งผู้ประสบภัย โครงสร้างพื้นฐาน สิ่งแวดล้อม ลำดับความสำคัญก่อน – กลัง การให้ความช่วยเหลือเบื้องต้น เพื่อให้ทันต่อความต้องการในภาวะฉุกเฉิน

                             ๔.๘.๒ การประเมินแบบละเอียด (detailed assessment) จะดำเนินการทันที   เมื่อภาวะฉุกเฉินสิ้นสุดลง หรืออย่างน้อยภายใน ๒ สัปดาห์ หลังจากเกิดสาธารณภัย ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการเข้าถึงพื้นที่ประสบภัย เป็นการระบุมูลค่าความเสียหายทางกายภาพ โครงสร้างทางสังคม ประมาณการด้านการเงินและวัสดุอุปกรณ์ ที่จะต้องใช้ในการให้ความช่วยเหลือและความต่อเนื่อง ทั้งนี้ จำเป็นจะต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญ      ในแต่ละสาขาดำเนินการประเมินความเสียหายและความต้องการในแต่ละด้าน

                            เมื่อประเมินความเสียหายและทราบความต้องการความช่วยเหลือแล้ว ให้นำข้อมูล    ที่ได้มาทำการวิเคราะห์ความสามารถของผู้ประสบภัยในการตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉินด้วยตนเองและจัดทำรายงานสรุปเสนอผู้อำนวยการท้องถิ่นเพื่อบริหารจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดความเสมอภาคและทั่วถึง  รวมถึงการขอรับความต้องการความช่วยเหลือเพิ่มเติมจากหน่วยงานภายนอก เช่น ความช่วยเหลือด้านอาหาร น้ำดื่ม การรักษาพยาบาล สุขอนามัยและการกำจัดสิ่งปฏิกูล ความช่วยเหลือด้านสุขภาวะ ที่พักพิง อุปกรณ์ยังชีพ เป็นต้น

                            ทั้งนี้ ตัวอย่างแนวทางปฏิบัติในการประเมินความเสียหายและความต้องการความช่วยเหลือ (Damage and Need Assessment : DANA) ตามภาคผนวก ด แบบประเมินภัยพิบัติขั้นต้น ระยะที่ ๑   (Initial Disaster Assessment Form)

                       ๔.๙ การรับ-จ่ายสิ่งของบริจาค

                             หากกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เทศบาลตำบลถ้ำใหญ่พิจารณาเห็นว่า     มีความจำเป็นต้องจัดให้มีการรับบริจาคเงินหรือทรัพย์สิน เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัยให้ดำเนินการ    ตามระเบียบที่เกี่ยวข้อง ดังต่อไปนี้

                            (๑) ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับบริจาคและการให้ความช่วยเหลือ         ผู้ประสบสาธารณภัย พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม

                            (๒) ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการเรี่ยไรของหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. ๒๕๔๔

                            (๓) ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการรับเงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคให้ทางราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖

                            (๔) ระเบียบกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการว่าด้วยการรับบริจาคสิ่งของเหลือใช้       ของศูนย์รับบริจาคเพื่อการสงเคราะห์ผู้เดือดร้อน พ.ศ. ๒๕๔๗

                           โดยมีแนวทางปฏิบัติในการรับ-จ่ายสิ่งของบริจาค ดังนี้

                           ๔.๙.๑ จัดตั้งศูนย์รับบริจาคเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย และกำหนดสถานที่เก็บรักษาสิ่งของบริจาค

                           ๔.๙.๒  เทศบาลตำบลถ้ำใหญ่หารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการกำหนดระเบียบ     การเก็บรักษาเงินบริจาคและสิ่งของบริจาค รวมถึงสถานที่เก็บรักษาสิ่งของบริจาค และวิธีแจกจ่ายเงินและสิ่งของบริจาค เพื่อให้เกิดความเป็นเอกภาพและเกิดประโยชน์แก่ผู้ประสบสาธารณภัยอย่างเสมอภาค

                           ๔.๙.๓ จัดทำบัญชีการรับ-จ่าย สิ่งของบริจาคไว้เป็นหลักฐาน เพื่อควบคุมระบบข้อมูล  ในการบริหารจัดการสิ่งของบริจาคอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม

                           กรณีที่บุคคล หน่วยงาน หรือองค์กรใดจัดตั้งศูนย์รับบริจาคเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบ     สาธารณภัย โดยที่บุคคล หน่วยงาน หรือองค์กรนั้นไม่ได้รับมอบภารกิจใดๆ จากกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เทศบาลตำบลถ้ำใหญ่ให้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการขนย้ายและส่งมอบสิ่งของบริจาคเอง

                     ๔.๑๐ การบริหารจัดการศูนย์พักพิงชั่วคราว

                            การช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่อาศัยในศูนย์พักพิงชั่วคราวในระยะต้น และระยะกลาง   ให้ได้ผลดี จำเป็นต้องคำนึงถึงสิ่งสำคัญ ได้แก่

                            (๑) การดูแลด้านความปลอดภัย

                             (๒) การจัดการด้านสวัสดิการ อาหาร สุขาภิบาล และความเป็นอยู่ ให้มีความสะดวก

                            (๓) การรักษาพยาบาล และการควบคุมป้องกันโรคให้เป็นไปอย่างทั่วถึง

                            (๔) การมีกิจกรรมฟื้นฟูสุขภาพจิตร่วมกันเพื่อทำให้มีสุขภาพจิตที่ดี

                            (๕) การรวมกลุ่มเป็นแหล่งเดียวกันเพื่อติดต่อขอรับการสนับสนุนจากภายนอก

                ข้อพิจารณาในการเลือกสถานที่ตั้งของศูนย์พักพิงชั่วคราว มีปัจจัยในการพิจารณา ดังนี้

ตารางที่ ๔-๓ : ข้อพิจารณาในการเลือกสถานที่ตั้งของศูนย์พักพิงชั่วคราว

ประเด็น

ข้อพิจารณาสำหรับทำเลที่ตั้ง

ความปลอดภัย

- ปลอดจากภัยคุกคามในขณะนั้น ไม่ว่าจะเป็นความรุนแรงหรือภัยทางธรรมชาติ

- ปลอดจากความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นต่อผู้อาศัยในศูนย์อพยพชั่วคราว

การเข้าถึง

- ง่ายต่อการเข้าถึงเพื่อให้ความช่วยเหลือในช่วงวิกฤต

- คำนึงถึงฤดูกาลและผลกระทบ (เช่น รถอาจจะเข้าไปไม่ได้ในหน้าฝน)

สิ่งแวดล้อม

- พิจารณาถึงภัยจากการปนเปื้อนสารพิษทั้งจากภายในและนอกพื้นที่

สาธารณูปโภค

- ความเป็นไปได้ในการใช้โครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐที่มีอยู่เดิม ทั้งการประปา

  สุขาภิบาล และการจัดการขยะ

- ระบบไฟฟ้าเป็นสิ่งสำคัญที่สุด เนื่องจากระบบน้ำและสุขาภิบาล ยังสามารถ

  หาทางเลือกอื่นที่ไม่พึงพาโครงสร้างพื้นฐานของเมืองได้

ปัจจัยดึงดูด

- ในบริบทของเมือง อาจเกิดปัจจัยดึงดูดให้มีการย้ายเข้าศูนย์พักพิงชั่วคราว          

  โดยไม่จำเป็น

อาชีพ

- การเข้าถึงตลาดในท้องถิ่น

- การเข้าถึงที่ทำงาน

- ทางเลือกและการเข้าถึงระบบขนส่ง

ประเด็น

ข้อพิจารณาสำหรับทำเลที่ตั้ง

สวัสดิการขั้นพื้นฐาน

- ต้องมีการบริการด้านการศึกษาและสุขอนามัย

- มีการสำรวจ และวัดผลศักยภาพระบบสวัสดิการทั่วไปในพื้นที่

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม

- ผู้อาศัยในศูนย์อพยพชั่วคราวมีสิทธิที่จะยึดถือประเพณีและวัฒนธรรมทางสังคม

  และศาสนาในศูนย์พักพิงชั่วคราว

- ตรวจสอบทัศนคติขององค์กรปกครองท้องถิ่นและชุมชนโดยรอบ ต่อกลุ่มผู้อยู่

  อาศัยในศูนย์พักพิงชั่วคราว

                                   

                   ให้กองสวัสดิการและสังคมหรือกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม (กรณีเทศบาล) หรือส่วนสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม (กรณีองค์การบริหารส่วนตำบล) เป็นหน่วยรับผิดชอบหลักในการบริหารศูนย์พักพิงชั่วคราว และประสานงานที่เกี่ยวข้องในการสนับสนุนยานพาหนะ เครื่องมืออุปกรณ์ ระบบสื่อสาร ระบบสาธารณูปโภค รวมทั้งประสานงานกับกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยอำเภอและจังหวัดเพื่อประสานการปฏิบัติในการจัดการศูนย์พักพิงชั่วคราว

 

แผนภาพที่ ๔-๔ : โครงสร้างศูนย์พักพิงเทศบาลตำบลถ้ำใหญ่

หมายเหตุ : สามารถปรับได้ตามความเหมาะสม

                  

๔.๑๑ การยกเลิกสถานการณ์สาธารณภัย

                           (๑) ให้ติดตามความเคลื่อนไหวของสถานการณ์สาธารณภัยอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง พร้อมทั้งตรวจสอบข้อมูลจากทุกแหล่งจนแน่ใจ และมีการยืนยันความชัดเจนว่าสถานการณ์คลี่คลายกลับสู่  ภาวะปกติแล้ว ให้ผู้อำนวยการท้องถิ่นรายงานข้อมูลให้ผู้อำนวยการอำเภอทราบ เพื่อประกาศยุติสถานการณ์  สาธารณภัยในพื้นที่

                           (๒) เมื่อได้รับการยืนยันอย่างชัดเจนจากผู้อำนวยการท้องถิ่น ผู้อำนวยการอำเภอ ตามลำดับ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ประกาศยุติสถานการณ์ว่าสาธารณภัยได้สิ้นสุดลงแล้ว ให้แจ้งข้อมูลดังกล่าวให้ผู้อพยพทราบเพื่อเตรียมพร้อมในการอพยพกลับสู่ที่ตั้งต่อไป

                           (๓) เมื่อยกเลิกหรือปิดศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินของ เทศบาลตำบลถ้ำใหญ่ให้ส่งมอบภารกิจที่ต้องดำเนินการต่อให้หน่วยงานที่รับผิดชอบตามภารกิจของหน่วยงานนั้นต่อไป เพื่อความต่อเนื่องในการปฏิบัติงาน

                     ๔.๑๒ การอพยพกลับ

                             เมื่อประชาชนได้รับแจ้งข่าวการยกเลิกสถานการณ์สาธารณภัยอย่างชัดเจน ให้ผู้นำชุมชนหรือผู้นำกลุ่มอพยพรีบแจ้งผู้อพยพเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการอพยพกลับและรอรับการแจ้ง       จุดอพยพกลับ โดยการจัดระเบียบและลำดับก่อนหลังของการอพยพกลับอย่างเป็นระบบไปสู่พื้นที่อยู่อาศัยเดิม              พร้อมทั้งประสานงานกับเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบควบคุมดูแลการอพยพกลับ

                     ๔.๑๓ การอพยพส่วนราชการ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

                             ให้ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉิน เทศบาลตำบลถ้ำใหญ่แบ่งประเภทของส่วนราชการและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่จะอพยพมาอยู่ในพื้นที่ปลอดภัยตามลำดับและความจำเป็นเร่งด่วน พร้อมทั้งกำหนดพื้นที่รองรับการอพยพส่วนราชการ ครอบครัวส่วนราชการ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไว้ล่วงหน้า โดยการดำเนินการอพยพให้เป็นไปตามแผนอพยพส่วนราชการ เพื่อให้สามารถบริการประชาชนได้ตามปกติ                                                                                                                                                                                                                                                                            

                     ๔.๑๔ การร้องขอรับการสนับสนุนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นข้างเคียง

                             ตามพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๐ มีมาตรา     ที่เกี่ยวข้องกับการขอรับการสนับสนุนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น ดังนี้

                             มาตรา ๒๑ เมื่อเกิดหรือคาดว่าจะเกิดสาธารณภัยขึ้นในเขตขององค์กรปกครอง       ส่วนท้องถิ่นแห่งพื้นที่ใด ให้ผู้อำนวยการท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งพื้นที่นั้นมีหน้าที่            เข้าดำเนินการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยโดยเร็ว และแจ้งให้ผู้อำนวยการอำเภอที่รับผิดชอบในเขตพื้นที่นั้นและผู้อำนวยการจังหวัดทราบทันที

                             ในการปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้อำนวยการท้องถิ่นมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้

                             (๔) ขอความช่วยเหลือจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นในการป้องกันและบรรเทา   สาธารณภัย

                             มาตรา ๒๓ ระบุว่า เมื่อเกิดสาธารณภัยขึ้นในเขตพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น    แห่งพื้นที่ใดให้เป็นหน้าที่ของผู้อำนวยการท้องถิ่นซึ่งมีพื้นที่ติดต่อหรือใกล้เคียงกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งพื้นที่นั้นที่จะสนับสนุนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยที่เกิดขึ้น

                     ๔.๑๕ การยกระดับการจัดการสาธารณภัยจากระดับ ๑ เป็นระดับ ๒

                             หากสถานการณ์สาธารณภัยในพื้นที่มีความรุนแรงและลุกลามต่อเนื่องยากต่อ       การรับมือให้ผู้อำนวยการท้องถิ่นแจ้งกองอำนวยการป้องและบรรเทาสาธารณภัยอำเภอ (กอปภ.อ.) และ      กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด (กอปภ.จ.) เพื่อร้องขอให้ยกระดับการจัดการสาธารณภัยเป็นระดับ ๒ โดยใช้เกณฑ์หรือเงื่อนไขดังต่อไปนี้ประกอบการพิจารณา

                             ๔.๑๕.๑ พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบและความเสียหาย

                             ๔.๑๕.๒ จำนวนผู้ที่ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต หรือผู้ที่ได้รับผลกระทบ

                             ๔.๑๕.๓ สถานการณ์ของภัยมีความรุนแรง หรืออาจมีสถานการณ์แทรกซ้อน มีการขยายตัวของภัยออกไป

                             ๔.๑๕.๔ ขีดความสามารถในการปฏิบัติงาน เช่น กำลังคน เครื่องมือ อุปกรณ์ยานพาหนะ และอุปกรณ์พิเศษต่างๆ

                             ๔.๑๕.๕ ดุลยพินิจการประเมินศักยภาพในการจัดการสาธารณภัยของผู้อำนวยการท้องถิ่น

                             ทั้งนี้ ให้ใช้เกณฑ์เงื่อนไขทางด้านพื้นที่/ประชากร/ความซับซ้อน/ศักยภาพ           ด้านทรัพยากร และวิจารณญาณหรือดุลยพินิจของผู้อำนวยการอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างประกอบกันเป็นเกณฑ์ในการยกระดับการจัดการสาธารณภัยจากระดับ ๑ เป็นระดับ ๒

 

 

บทที่ ๕

การปฏิบัติหลังเกิดภัย

 

           การปฏิบัติหลังเกิดภัย (ฟื้นฟู) เป็นการดำเนินการภายหลังจากที่ภาวะฉุกเฉินจากสาธารณภัยบรรเทาลง หรือได้ผ่านพ้นไปแล้ว เพื่อปรับสภาพระบบสาธารณูปโภค การดำรงชีวิต และสภาวะวิถี        ความเป็นอยู่ของชุมชนที่ประสบสาธารณภัยให้กลับสู่สภาวะปกติ หรือพัฒนาให้ดีกว่าและปลอดภัยกว่าเดิม  (Build Back Better and Safer) เป็นไปตามวงจรการจัดการสาธารณภัยสู่การสร้างใหม่ให้ดีกว่าและปลอดภัยกว่าเดิม (แผนภาพที่ ๕-๑) โดยการนำเอาปัจจัยต่างๆ ในการลดความเสี่ยงจากสาธารณภัยเข้ามาช่วยในการฟื้นฟู ซึ่งหมายรวมถึงการซ่อมสร้าง (Reconstruction) และการฟื้นสภาพ (Rehabilitation)          โดยมีหลักการสำคัญของการฟื้นฟู ได้แก่

           การช่วยเหลือผู้ประสบภัยให้สามารถช่วยเหลือตนเองได้ เพื่อให้การดำรงชีวิตกลับเข้าสู่ภาวะปกติ โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพิงความช่วยเหลือจากภายนอกแต่เพียงอย่างเดียว

           ผู้ประสบภัยต้องมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจ จึงจะเกิดกระบวนการยอมรับและ     มีส่วนร่วมในขั้นตอนต่างๆ ที่จะดำเนินการ

           พิจารณาความเสี่ยงต่อภัยในการฟื้นคืนสภาพและการสร้างใหม่เสมอ เพื่อไม่ให้งบประมาณต้องสูญเสียไปโดยเปล่าประโยชน์จากการเกิดสาธารณภัยครั้งต่อไป

สร้างใหม่ให้ดีกว่าและปลอดภัยกว่าเดิม

 

แผนภาพที่ ๕-1 : วงจรการจัดการสาธารณภัยสู่การสร้างใหม่ให้ดีกว่าและปลอดภัยกว่าเดิม

                    ในอดีตที่ผ่านมา ได้กำหนดยุทธศาสตร์การบริหารจัดการสาธารณภัยที่สามารถตอบสนองต่อการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยให้มีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย การป้องกันและลดผลกระทบ การเตรียมความพร้อม การบริหารจัดการในภาวะฉุกเฉิน (การเผชิญเหตุ) และจัดการหลังเกิดภัย (การฟื้นฟู)              ซึ่งสถานการณ์สาธารณภัยในปัจจุบันนับวันจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ดังนั้นจึงได้มีการเปลี่ยนแปลงยุทธศาสตร์ในการจัดการสาธารณภัย โดยจากการจัดการสาธารณภัย (Disaster Management : DM) มาเป็นการจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัย (Disaster Risk Management : DRM) ให้ความสำคัญกับการป้องกันและลดผลกระทบ การเตรียมความพร้อม ซึ่งเป็นการลดความเสี่ยงจากสาธารณภัย (Disaster Risk Reduction : DRR) เพิ่มมากขึ้น เพื่อสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนและของรัฐ การลงทุนในเรื่องลดความเสี่ยงจากสาธารณภัยนอกจากจะช่วยลดปัจจัยเสี่ยงและลดโอกาสของสังคมในการเผชิญเหตุการณ์สาธารณภัยแล้ว ยังจะส่งผลที่ดีต่อการพัฒนาในด้านต่างๆ ให้มีความต่อเนื่องอีกด้วย เน้นการฟื้นฟูที่ดีกว่าและปลอดภัยกว่าเดิมเพื่อให้เกิดความยั่งยืนตามวงจรการจัดการสาธารณภัยสู่การสร้างใหม่ให้ดีกว่าและปลอดภัยกว่าเดิม          ตามแผนภาพที่ ๕-๑

 ๕.๑ การสำรวจความต้องการของผู้ประสบภัยและความเสียหายเบื้องต้น

                          กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เทศบาลตำบลถ้ำใหญ่สำรวจความต้องการของผู้ประสบภัยและความเสียหายเบื้องต้นภายในพื้นที่ประสบภัยจนถึงระดับครัวเรือน โดยวิเคราะห์ผลกระทบจากความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสาธารณภัยเพื่อประเมินและวิเคราะห์ความสามารถของผู้ประสบภัยในการตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉินด้วยตนเอง ความต้องการความช่วยเหลือเพิ่มเติมจากหน่วยงานภายนอก เช่น ความช่วยเหลือด้านอาหาร น้ำดื่ม การรักษาพยาบาล สุขอนามัยและการกำจัดสิ่งปฏิกูล เป็นต้น รวมทั้งจัดทำฐานข้อมูล      การสำรวจความเสียหาย เพื่อเป็นข้อมูลในการฟื้นฟูและกำหนดกรอบแนวทางในการสร้างคืนใหม่ได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ โดยมีหลักการปฏิบัติ ดังนี้

                          ๕.๑.๑ ชุมชน/หมู่บ้าน สำรวจความเสียหายระบบสาธารณูปโภคและสิ่งสาธารณ  ประโยชน์ต่างๆ จนถึงระดับครัวเรือน รวมทั้งจัดทำฐานข้อมูลการสำรวจความเสียหาย เพื่อเป็นข้อมูลในการฟื้นฟูและกำหนดกรอบแนวทางในการสร้างคืนใหม่ได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ

                          ๕.๑.๒ เทศบาลตำบลถ้ำใหญ่สำรวจประเมินความจำเป็นในการฟื้นฟูภายหลังการเกิด        สาธารณภัย ดังนี้

                                   (๑) ข้อมูลพื้นฐานด้านชุมชน เช่น ประชากร เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม

                                   (๒) ข้อมูลด้านความเสียหายจากสาธารณภัย การจัดการในภาวะฉุกเฉิน      การช่วยเหลือจากภายนอก

                                   (๓) ข้อมูลการวิเคราะห์ความสามารถในการเผชิญเหตุของชุมชน ความอ่อนแอ หรือความล่อแหลมต่อสาธารณภัยที่เกิดขึ้น

                          ๕.๑.๓ สำรวจและประเมินความจำเป็นในการฟื้นฟูภายหลังเหตุการณ์สาธารณภัย    ควรสำรวจข้อมูลดังต่อไปนี้

                                   (๑) ข้อมูลการฟื้นฟูผู้ประสบภัย เช่น ด้านอาหาร การเงิน สิ่งของเครื่องใช้ ที่พักพิง สุขภาพ สุขาภิบาล และสิ่งแวดล้อมการประกอบอาชีพ และองค์ความรู้ (การช่วยเหลือยามฉุกเฉิน สุขาภิบาล ฯลฯ) โดยให้คำนึงถึงการฟื้นฟูกลุ่มเปราะบาง (กลุ่มเด็ก สตรีมีครรภ์ คนชรา ผู้ป่วย และผู้พิการ) ที่ได้รับผลกระทบจากสาธารณภัยเป็นพิเศษ

                                   (๒) ข้อมูลการฟื้นฟูพื้นที่ประสบภัย เช่น ที่อยู่อาศัย สถานศึกษา โรงพยาบาล สิ่งก่อสร้างต่างๆ การชลประทาน การขนส่ง การสื่อสาร อุตสาหกรรม ระบบสุขาภิบาล เป็นต้น

                          ๕.๑.๔ กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เทศบาลตำบลถ้ำใหญ่จัดตั้งคณะทำงานประสานกับชุมชน/หมู่บ้าน ให้ตรวจสอบรายละเอียดความเสียหาย การให้ความช่วยเหลือ และความต้องการเบื้องต้นของผู้ประสบภัยโดยเร็ว

                          ๕.๑.๕ ดำเนินการฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐานที่เสียหายในเบื้องต้น โดยงบประมาณที่อยู่ในความรับผิดชอบ กรณีที่เกินขีดความสามารถให้ขอรับการสนับสนุนจากงบกลางขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

                          ๕.๑.๖ รายงานสรุปการประเมินความเสียหายและแนวทางการฟื้นฟูไปยัง             กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยอำเภอและจังหวัด เพื่อขอรับการสนับสนุนในการฟื้นฟู ซ่อมแซม และบูรณะโครงสร้างพื้นฐานที่ได้รับความเสียหาย (คณะกรรมการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติอำเภอ (ก.ช.ภ.อ.) และคณะกรรมการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติจังหวัด (ก.ช.ภ.จ.)

                          การประเมินความเสียหายและความต้องการความช่วยเหลือ จะต้องมีความเชื่อมโยงกับการตอบสนองความต้องการของผู้ที่ได้รับผลกระทบตามหลักมาตรฐาน โดยคำนึงถึงปัจจัยด้านต่างๆ เช่น อายุ เพศ เชื้อชาติ ศาสนา สตรีมีครรภ์ และผู้พิการ เพื่อประกอบการพิจารณา

 ๕.๒ การฟื้นฟู

       มีแนวทางปฏิบัติ ดังนี้

       ๑. แจ้งให้ชุมชนและหมู่บ้าน สำรวจความเสียหายของระบบสาธารณูปโภคและ        สิ่งสาธารณประโยชน์ต่างๆ จนถึงระดับครัวเรือน รวมทั้งจัดทำฐานข้อมูลการสำรวจความเสียหาย เพื่อเป็นข้อมูลในการฟื้นฟู และกำหนดกรอบแนวทางในการสร้างคืนใหม่ได้อย่างเหมาะสมและเป็นที่ยอมรับ

       ๒. เทศบาลตำบลถ้ำใหญ่สำรวจประเมินความจำเป็นในการฟื้นฟูหลังการเกิดสาธารณภัย ดังนี้

   (๒.๑) ข้อมูลพื้นฐานด้านชุมชน เช่น ประชากร เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม

   (๒.๒) ข้อมูลด้านความเสียหายจากสาธารณภัย การจัดการในภาวะฉุกเฉิน        การช่วยเหลือจากภายนอก

   (๒.๓) ข้อมูลการวิเคราะห์ความสามารถในการเผชิญเหตุชุมชน ความอ่อนแอ    หรือความล่อแหลมต่อสาธารณภัยที่เกิดขึ้น

๓. สำรวจและประเมินความจำเป็นในการฟื้นฟูภายหลังเหตุการณ์สาธารณภัย ดังนี้

    (๓.๑) ข้อมูลการฟื้นฟูผู้ประสบภัย ควรมีรายละเอียดในแต่ละด้าน เช่น ด้านอาหาร การเงิน สิ่งของ เครื่องใช้ ที่พักพิง สุขภาพ สุขาภิบาลและสิ่งแวดล้อม การประกอบอาชีพ และองค์ความรู้   การช่วยเหลือยามฉุกเฉิน สุขาภิบาล เป็นต้น โดยให้คำนึงถึงการฟื้นฟูกลุ่มเปราะบาง (กลุ่มเด็ก สตรีมีครรภ์ คนชรา ผู้ป่วย และผู้พิการ) ที่ได้รับผลกระทบจากสาธารณภัยเป็นพิเศษ

    (๓.๒) ข้อมูลการฟื้นฟูพื้นที่ประสบภัย ควรมีรายละเอียดในแต่ละด้าน เช่น ที่อยู่อาศัย การศึกษา การดูแลสุขภาพ สิ่งก่อสร้างต่างๆ เกษตรกรรม การชลประทาน การขนส่ง การสื่อสาร อุตสาหกรรม ระบบสุขาภิบาล เป็นต้น

๔. เทศบาลตำบลถ้ำใหญ่จัดทีมประเมินความเสียหายและความต้องการความช่วยเหลือ  โดยประสานกับอำเภอทุ่งสงและจังหวัดนครศรีธรรมราช ให้ตรวจสอบรายละเอียดความเสียหาย การให้ความช่วยเหลือและความต้องการเบื้องต้นของผู้ประสบภัยโดยเร็ว

๕. ประสานการปฏิบัติกับอำเภอ ให้ประสานการปฏิบัติกับคณะกรรมการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยอำเภอ (ก.ช.ภ.อ.) ให้เร่งสำรวจความเสียหายจากภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินโดยเร็ว           เพื่อพิจารณาช่วยเหลือผู้ประสบภัยตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด และรายงานผล   การสำรวจความเสียหายจากภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน ต่อคณะกรรมการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติจังหวัด (ก.ช.ภ.จ.) เพื่อพิจารณาดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัย

๖. ในกรณีที่ความเสียหายมีมูลค่ามากกว่าวงเงินที่ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจอนุมัติ ให้ส่งเรื่องให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยพิจารณาเสนอขออนุมัติวงเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัย        จากวงเงินงบกลางรายการสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นจากคณะรัฐมนตรี

๗. รายงานสรุปการประเมินความเสียหายและความจำเป็นในเบื้องต้น ให้ผู้อำนวยการอำเภอ ผู้อำนวยการจังหวัด ผู้อำนวยการกลาง ผู้บัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ                  และนายกรัฐมนตรีทราบตามลำดับ

.2.1 การฟื้นฟูระยะสั้น

         เป็นการดำเนินการต่อเนื่องจากการค้นหา การบรรเทา และการช่วยเหลือได้ยุติลง เพื่อสนองความต้องการที่จำเป็นของผู้ประสบภัย ธุรกิจ ชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากสาธารณภัยในระยะเร่งด่วนหรือระยะสั้น รวมถึงการจัดมาตรการด้านการรักษาความปลอดภัยไม่ให้เกิดอันตรายหรือสาธารณภัย ซ้ำขึ้นอีก การประเมินความเสียหายของโครงสร้างพื้นฐาน การจัดเตรียมที่พักอาศัยชั่วคราว และการให้บริการสาธารณะ โดยมีแนวทางปฏิบัติ ดังนี้

        (๑) การสงเคราะห์และช่วยเหลือผู้ประสบภัยในเบื้องต้น

             เป็นการฟื้นฟูด้านสมรรถภาพทางกายให้แก่ผู้ประสบภัย เช่น การตรวจรักษา ป้องกันควบคุมโรค และการฟื้นฟูความแข็งแรงทางร่างกาย เป็นต้น รวมถึงการฟื้นฟูด้านสภาพจิตใจและ     จิตสังคมของผู้ได้รับผลกระทบ ตลอดจนการกระตุ้นและช่วยเหลือให้เกิดการปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลง        ตามความจำเป็น โดยให้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลถ้ำใหญ่ทั้งสองแห่งเป็นหน่วยงายหลัก และมีแนวทางปฏิบัติ ดังนี้

             (๑.๑) การช่วยเหลือและสงเคราะห์ผู้ประสบภัย

                     - แจ้งให้ชุมชน/หมู่บ้าน สำรวจตรวจสอบข้อมูลผู้ประสบภัยและความเสียหาย เพื่อให้ความช่วยเหลือต่างๆ ตรงกับข้อเท็จจริงตลอดจนส่งผู้ประสบภัยกลับภูมิลำเนา

                     - ให้มีการประสานงานระหว่างหน่วยงานของรัฐ และองค์กรภาคเอกชนในการสงเคราะห์ผู้ประสบภัยให้เป็นไปอย่างมีระบบ รวดเร็ว ทั่วถึง และหลีกเลี่ยงความซ้ำซ้อน    ในการสงเคราะห์ผู้ประสบภัย

                     - ให้ชุมชน/หมู่บ้าน จัดทำบัญชีรายชื่อผู้ประสบภัยและทรัพย์สิน    ที่เสียหายไว้เป็นหลักฐานเพื่อการสงเคราะห์ผู้ประสบภัย พร้อมทั้งออกหนังสือรับรองให้ผู้ประสบภัยไว้เป็นหลักฐานในการรับการสงเคราะห์และฟื้นฟู

                     - จัดให้มีการรักษาพยาบาลแก่ผู้ประสบภัยอย่างต่อเนื่องจนกว่า    จะหายกลับมาดำรงชีวิตได้ตามปกติ รวมทั้งจัดการที่พักอาศัยชั่วคราว และระบบสุขาภิบาลแก่ผู้ประสบภัย   ในกรณีที่ต้องอพยพจากพื้นที่อันตราย

                     - ให้การสงเคราะห์แก่ครอบครัวของผู้ที่ประสบภัยอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในกรณีที่ผู้เป็นหัวหน้าครอบครัวประสบภัยจนเสียชีวิตหรือไม่สามารถประกอบอาชีพต่อไปได้     โดยการให้ทุนการศึกษาแก่บุตรของผู้ประสบภัยจนจบการศึกษาภาคบังคับ และโดยการจัดหาอาชีพให้แก่บุคคลในครอบครัว

                     - เลี้ยงดูผู้ประสบภัยที่ไม่สามารถช่วยตัวเองได้ในระยะแรก เช่น ดูแลเด็กกำพร้า นักเรียน นักศึกษา คนพิการ และผู้สูงอายุที่ประสบภัย

 

             (๑.๒) การป้องกัน เฝ้าระวัง และควบคุมโรคระบาด ทั้งคนและสัตว์

             (๑.๓) ประชาสัมพันธ์เพื่อเสริมสร้างขวัญและกำลังใจของประชาชนให้คืนสู่สภาพปกติโดยเร็ว

             (๑.๔) รายงานข่าวและประชาสัมพันธ์ข่าวสารต่อสาธารณชนให้ทราบสถานการณ์เป็นระยะๆ

        (๒) การฟื้นฟูพื้นที่ประสบภัย

             เป็นการบูรณะที่อยู่อาศัย โครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ที่ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์สาธารณภัยให้กลับสู่สภาพที่สามารถใช้งานได้ ทั้งนี้ ควรให้ความสำคัญกับการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้วยตามความเหมาะสมกับสถานการณ์และการใช้งาน หากการบูรณะโครงสร้างและสิ่งก่อสร้างหรือการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ต้องฟื้นฟูให้ดีกว่าเดิม อาจต้องใช้เวลาและงบประมาณในการฟื้นฟู ควรกำหนดแผนงานไว้ในการฟื้นฟูระยะยาวต่อไป และการฟื้นฟูพื้นที่ประสบภัยในระยะเริ่มต้นให้ปฏิบัติ ดังนี้

             (๒.๑) ทำความสะอาดบ้านเรือน ชุมชน และสิ่งสาธารณประโยชน์ ในพื้นที่ประสบภัย และขนย้ายขยะมูลฝอย

             (๒.๒) ให้ เทศบาลตำบลถ้ำใหญ่ที่เกิดเหตุ ดำเนินการฟื้นฟูพื้นที่ประสบภัย   ปรับสภาพภูมิทัศน์ และแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและมลภาวะเป็นพิษ

             (๒.๓) กรณีที่เกินขีดความสามารถของ เทศบาลตำบลถ้ำใหญ่ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงสร้างพื้นฐานนั้นๆ ดำเนินการฟื้นฟู ซ่อมแซม และบูรณะโครงการที่ได้รับความเสียหาย ดังนี้

                     - ทางหลวงแผ่นดินและเส้นทางคมนาคม

                              ดำเนินการโดยแขวงทางหลวงนครศรีธรรมราชที่ 2 

 

                     - ระบบไฟฟ้า

                       ดำเนินการโดยการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดนครศรีธรรมราช และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

                     - ระบบประปา

                       ดำเนินการโดยการประปาส่วนภูมิภาคจังหวัดนครศรีธรรมราช

             (๒.๔) ให้รื้อถอนซากปรักหักพัง และซ่อมแซมสิ่งสาธารณูปโภค โครงสร้างพื้นฐานและอาคารบ้านเรือนของผู้ประสบภัย เพื่อให้สามารถประกอบอาชีพได้ต่อไป

             (๒.๕) ซ่อมแซมสถานที่ราชการ โรงเรียน สถานศึกษา วัด โบราณสถาน สถานที่ราชการ สถานที่ท่องเที่ยว และสาธารณูปโภคต่างๆ ให้กลับมาใช้งานได้ดังเดิม

             (๒.๖) พื้นที่ประสบภัย เช่น การเก็บซากปรักหักพัง การตรวจสอบ     ความแข็งแรงของอาคาร การออกแบบวางผังเมือง การจัดหาแหล่งน้ำอุปโภคบริโภค การจัดทำภูมิทัศน์ ดำเนินการโดยสำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดนครศรีธรรมราช สำนักชลประทานที่ 15 โครงการชลประทานจังหวัดนครศรีธรรมราช องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

๕.2.2 การฟื้นฟูระยะกลาง/ระยะยาว

         (๑) การฟื้นฟูระยะกลางเป็นการดำเนินการต่อเนื่องโดยการประสานและสนับสนุนชุมชนที่ประสบภัย ฟื้นฟู หรือสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกในการดำรงชีวิตขึ้นใหม่ การฟื้นฟูเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งสภาพร่างกาย จิตใจ และสังคมของผู้ประสบภัย โดยให้ปฏิบัติ ดังนี้

              - การฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต เช่น ประปา ไฟฟ้า ระบบโทรคมนาคม เป็นต้น

              - การฟื้นฟูและเสริมสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ

                                ให้กองคลังของ เทศบาลตำบลถ้ำใหญ่เป็นหน่วยหลักในการฟื้นฟูและเสริมสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้ ให้สามารถร่วมมือกับภาคเอกชน ได้แก่ หอการค้า สภาอุตสาหกรรม สมาคมท่องเที่ยว และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับระบบเศรษฐกิจและการพาณิชย์ของ เทศบาลตำบลถ้ำใหญ่

         (๒) สำหรับการฟื้นฟูระยะยาว เป็นการดำเนินการต่อเนื่องจากระยะกลาง    ซึ่งอาจใช้เวลาหลายเดือนหรือหลายปีนับจากหลังเกิดสาธารณภัย โดยมุ่งเน้นการกลับสู่สภาวะปกติ หรือให้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำการสำรวจและจัดทำแผนโครงการ เพี่อวางแผนการฟื้นฟูพื้นที่เกิดภัย ให้สามารถรองรับสาธารณภัยที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ดีกว่าและปลอดภัยกว่าเดิม โดยมีแนวทางปฏิบัติ ดังนี้

            - ให้ เทศบาลตำบลถ้ำใหญ่เป็นหน่วยหลักในการวางแผนและดำเนินกิจกรรมฟื้นฟูชุมชนร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยอาศัยการมีส่วนร่วมกับชุมชน เพื่อให้มีความพร้อมรับมือและฟื้นกลับอย่างรวดเร็ว เป็นการดำเนินงานฟื้นฟูที่ต่อเนื่องจากการบรรเทาภัยที่เกิดขึ้น  การให้ความช่วยเหลือทางวิชาการในการวางแผนฟื้นฟู การระบุและติดตามการแก้ไขความขัดแย้งและการลดความแตกต่าง การประยุกต์ใช้หลักการพัฒนาอย่างยั่งยืนในการวางแผน และการกำหนดการประสาน     ความต้องการที่ยังไม่ได้รับการช่วยเหลือ

                               - ให้มีการบูรณะและการก่อสร้างที่อยู่อาศัยที่ถูกทำลายและได้รับ     ความเสียหายใหม่หรือพัฒนาที่อยู่อาศัยถาวร เพื่อเป็นทางเลือกใหม่ในการแก้ไขปัญหาด้านที่อยู่อาศัยที่จะรองรับ โดยชุมชนมีส่วนในการเสริมสร้างความถาวรยั่งยืนและความต้านทานต่อสาธารณภัยของที่อยู่อาศัย ทั้งนี้ การฟื้นฟูที่อยู่อาศัยมุ่งที่จะแก้ไขปัญหาด้านที่อยู่อาศัยให้ผู้ประสบภัยหลังการเกิดสาธารณภัยเพื่อป้องกันและลดผลกระทบต่อสาธารณภัยที่จะเกิดขึ้นอีก

                               - ปกป้องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและทรัพย์สินทางประวัติศาสตร์ในการดำเนินงานตอบโต้และฟื้นฟูที่เหมาะสม เพื่อที่จะสงวน อนุรักษ์ บูรณะและปฏิสังขรณ์       ให้กลับคืนสู่สภาพเดิมหรือดีกว่าหรือปลอดภัยกว่าเดิม

๕.๒.๓ การฟื้นฟูด้านต่างๆ

       (๑) ด้านสุขภาพและการบริการสังคม

         เป็นการเสริมสร้างความพร้อมที่จะรับมือและการฟื้นกลับสู่ภาวะปกติได้อย่างรวดเร็วของ เทศบาลตำบลถ้ำใหญ่ในการบริการด้านสุขภาพและการบริการด้านสังคมของบุคคลและชุมชน           ที่ประสบภัย ครอบคลุมถึงการสาธารณสุข สุขภาพจิต และการบริการทางการแพทย์ โดยให้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลถ้ำใหญ่ทั้งสองแห่งเป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินการ

       (๒) ด้านที่อยู่อาศัย

              (๒.๑) บูรณะและก่อสร้างที่อยู่อาศัยที่ถูกทำลายและได้รับความเสียหายใหม่หรือพัฒนาที่อยู่อาศัยถาวร เพื่อเป็นทางเลือกใหม่ในการแก้ไขปัญหาด้านที่อยู่อาศัยที่จะรองรับความต้องการของชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

              (๒.๒) ภารกิจสนับสนุนการฟื้นฟูที่อยู่อาศัยมุ่งที่จะแก้ไขปัญหาด้านที่อยู่อาศัย หลังการเกิดสาธารณภัย เพื่อป้องกันและลดผลกระทบต่อสาธารณภัยที่จะเกิดขึ้นอีก กรณีที่เกินขีดความสามารถให้หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงสร้างพื้นฐานนั้นๆ ดำเนินการฟื้นฟู ซ่อมแซม และบูรณะโครงการ ที่ได้รับความเสียหาย และขอรับการสนับสนุนจากหน่วยเหนือขึ้นไปตามลำดับ ได้แก่ งบประมาณของจังหวัด งบประมาณของกรม กระทรวง หน่วยงานนอก ภาครัฐ องค์กรระหว่างประเทศ หรืองบกลาง

       (๓) ด้านสิ่งแวดล้อม

               (๓.๑) ขนย้ายขยะมูลฝอย แก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและมลภาวะเป็นพิษ

  (๓.๒) วางแผนในการรักษาปกป้องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และทรัพย์สินทางประวัติศาสตร์ อนุรักษ์ บูรณะและปฏิสังขรณ์ให้กลับคืนสู่สภาพเดิมหรือดีกว่าเดิมตามที่ชุมชนร้องขอ

              (๓.๓) ให้หน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบในทุกระดับรวมถึงหน่วยงานภาคเอกชนที่เป็นเครือข่ายให้สนับสนุนแผนงานและภารกิจสำคัญที่จะต้องดำเนินการตามแผนปฏิบัติการ     ในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของ เทศบาลตำบลถ้ำใหญ่ที่กำหนดวิธีการที่จะใช้ทรัพยากรและสมรรถนะ เพื่อตอบสนองได้ตรงความต้องการของชุมชนและเพียงพอ

 

 

บทที่ ๖

การขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

ของ เทศบาลตำบลถ้ำใหญ่ไปสู่การปฏิบัติ

 

 ๖.๑ แนวทางการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของ เทศบาลตำบลถ้ำใหญ่ไปสู่การปฏิบัติ

                 แผนปฏิบัติการในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เทศบาลตำบลถ้ำใหญ่         พ.ศ. ๒๕๖๐   ได้จัดทำขึ้นโดยใช้กรอบแนวคิดให้สอดคล้องกับแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยอำเภอ พ.ศ. ๒๕๕๘และแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด พ.ศ. ๒๕๕๘ มีแนวคิดการจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัย ประกอบด้วย การมุ่งเน้นการลดความเสี่ยงจากสาธารณภัย การบูรณาการการจัดการในภาวะฉุกเฉิน การเพิ่มประสิทธิภาพการฟื้นฟูอย่างยั่งยืน และการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศในการจัดการความเสี่ยง    จากสาธารณภัย ซึ่งการจะดำเนินการให้บรรลุผลสัมฤทธิ์ตามวัตถุประสงค์ต้องอาศัยการบูรณาการจากทุกภาคส่วน ทั้งภาคราชการ พลเรือน ทหาร ตำรวจ ภาคเอกชน มูลนิธิ/อาสาสมัคร และองค์การสาธารณกุศล และต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. ๒๕๕๐ ที่บัญญัติไว้ใน

                 มาตรา ๒๐ ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งพื้นที่มีหน้าที่ป้องกันและบรรเทา       สาธารณภัยในเขตท้องถิ่นของตน โดยมีผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งพื้นที่นั้นเป็นผู้รับผิดชอบ     ในฐานะผู้อำนวยการท้องถิ่น

                 เพื่อให้แผนปฏิบัติการในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เทศบาลตำบลถ้ำใหญ่        พ.ศ. ๒๕๖๐ ไปสู่การปฏิบัติให้เกิดผลและเป็นรูปธรรม โดยกำหนดผลการดำเนินงานของแต่ละภาคส่วน      ซึ่งเป็นตัวชี้วัดการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เทศบาลตำบลถ้ำใหญ่     พ.ศ. ๒๕๖๐ ไปสู่การปฏิบัติ ดังนี้

 

ตารางที่ ๖-๑ : แนวทางการดำเนินงานในการขับเคลื่อนแผนไปสู่การปฏิบัติ

 

ลำดับที่

การดำเนินการ

หน่วยงานที่รับผิดชอบ

ดำเนินการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เกี่ยวกับแผนปฏิบัติการในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เทศบาลตำบลถ้ำใหญ่พ.ศ. ๒๕๖๐ รวมทั้งแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยที่อาจเกิดขึ้น  ในพื้นที่ของตนเอง เพื่อสร้างความตระหนักให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อาสาสมัคร คนในชุมชน/ท้องถิ่นได้รับรู้ รับทราบ เข้าใจถึงระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสาธารณภัย และสร้างการมีส่วนร่วมของ         ภาคประชาชนและภาคเอกชนในพื้นที่

- ทต.ถ้ำใหญ่

- หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

 

จัดให้มีการประชุมกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย      เทศบาลตำบลถ้ำใหญ่อย่างน้อยทุก ๒ เดือน อย่างต่อเนื่อง เพื่อใช้เป็นกลไกและเวทีในการบูรณาการการทำงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่ภารกิจด้านการป้องกัน การลดผลกระทบ และการเตรียมความพร้อม การร่วมวิเคราะห์ประเมินความเสี่ยงจากสาธารณภัยในพื้นที่

-ทต.ถ้ำใหญ่

- หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

มีส่วนร่วมกับอำเภอทุ้งสง และจังหวัดนครศรีธรรมราช อย่างต่อเนื่อง เพื่อเชื่อมการทำงานอย่างประสานสอดคล้อง โดยจัดประชุมแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นการดำเนินการกิจกรรม เช่น ร่วมสำรวจประเมินวิเคราะห์    พื้นที่เสี่ยง ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดภัย เป็นต้น

 

 

 

- ทต.ถ้ำใหญ่

- สนง.ปภ.สาขาทุ่งใหญ่

- สนง.ปภ.จว. นครศรีธรรมราช.

- ศูนย์ ปภ. เขต 11

การจัดทำแผนเผชิญเหตุสาธารณภัยของ เทศบาลตำบลถ้ำใหญ่การร่วมฝึกการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของกองอำนวยการป้องกันและบรรเทา   สาธารณภัยระดับต่างๆ เพื่อทดสอบและฝึกความชำนาญร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

- ทต.ถ้ำใหญ่

- สนง.ปภ.สาขาทุ่งใหญ่

- สนง.ปภ.จว. นครศรีธรรมราช.

- ศูนย์ ปภ. เขต 11- หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

จัดทำแผนงานโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินภารกิจ เช่น งบพัฒนาจังหวัด งบพัฒนากลุ่มจังหวัด สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กองทุนความปลอดภัยในการ     ใช้รถใช้ถนน ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม องค์กรสาธารณกุศล    โดยให้เชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์การเตรียมพร้อมแห่งชาติ

 

- ทต.ถ้ำใหญ่

- สำนักงานจังหวัด.นครศรีธรรมราช

- หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

 

พิจารณาแผนงาน/โครงการที่ได้มีการประเมินความเสี่ยงในพื้นที่ที่มุ่งเน้นการลดความเสี่ยงจากสาธารณภัย แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในภาพรวมอย่างมีส่วนร่วมแบบบูรณาการ ซึ่งรัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการเตรียมพร้อมแห่งชาติ ประกอบกับให้มีความเชื่อมโยงและส่งผลต่อทิศทางการพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัด โดยการเสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณ   ตามภารกิจของอำเภอ/องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภายใต้แผนพัฒนาท้องถิ่น เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากจังหวัดและกลุ่มจังหวัด โดยบรรจุในแผนปฏิบัติราชการประจำปีจังหวัดและกลุ่มจังหวัด ที่เป็นกรอบแผนงาน/โครงการในแผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัดต่อไป

 

- ทต.ถ้ำใหญ่

- สำนักงานจังหวัดนครศรีธรรมราช

- หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

 

 

ให้ความรู้แก่ภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องทั้งด้านวิชาการและการปฏิบัติ    สร้างองค์ความรู้เพื่อเป็นข้อมูลในการกำหนดนโยบายทั้งระดับจังหวัด ระดับอำเภอ และระดับพื้นที่

 

- ทต.ถ้ำใหญ่

- สพป. นครศรีฯ

- สพม. นครศรีฯ

สนับสนุน กำกับ ติดตาม ให้คำแนะนำในการจัดทำแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยชุมชน/หมู่บ้าน เพื่อเป็นกรอบปฏิบัติงานในระดับพื้นที่ให้มีความเชื่อมโยงกับแผนปฏิบัติการในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เทศบาลตำบลถ้ำใหญ่

 

- ทต.ถ้ำใหญ่

การติดตามและประเมินผล โดยการมีส่วนร่วมของหน่วยงานต่างๆ         ทั้งส่วนกลางและระดับพื้นที่ การกำหนดให้จัดทำรายงานผลการดำเนินงานให้ผู้อำนวยการจังหวัดเพื่อรายงานผลต่อไปยังผู้อำนวยการกลางและผู้บังคับบัญชาระดับเหนือขึ้นไปทราบเป็นประจำทุกปี รวมทั้งการติดตามและประเมินผลการนำแผนปฏิบัติการในการป้องกันและบรรเทา           สาธารณภัย เทศบาลตำบลถ้ำใหญ่ไปสู่การปฏิบัติ ในช่วงกลางแผนและ      ปลายแผน พร้อมทั้งพิจารณาแนวทางปรับปรุงแผนฯ

 

- ทต.ถ้ำใหญ่

- สนง.ปภ.สาขาทุ่งใหญ่

- สนง.ปภ.จ. นครศรี

- ศูนย์ ปภ. เขต 11

- สำนักงานจังหวัด

 

๖.๒ การติดตามและประเมินผล

          เป็นกระบวนการดำเนินงานด้านการกำกับควบคุม เพื่อติดตามความก้าวหน้าของภารกิจและหรือประเมินว่าภารกิจสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้หรือไม่ การติดตามประเมินผล โดยปกติจะต้องกำหนดดัชนีการติดตามประเมินผลเพื่อเป็นเกณท์ในการพิเคราะห์ว่าสถานการณ์ที่ตรวจสอบวัดได้นั้นบรรลุหรือไม่บรรลุเมื่อเทียบกับเกณท์หรือดัชนีที่กำหนด ประโยชน์ของการติดตามประเมินผลไม่เพียงแต่ช่วยให้ทราบความก้าวหน้า และหรือความล้าหลังของการดำเนินการ โดยใช้ดัชนีประเมินว่าการดำเนินการใกล้ถึงเป้าหมายที่กำหนดแค่ไหนเพียงไรแล้ว ยังสามารถช่วยให้วิเคราะห์เพิ่มเติมให้ทราบปัจจัยเหตุแห่งความสำเร็จและความล้มเหลวดังกล่าวได้ ทำให้เกิดประโยชน์ในการปรับปรุงแนวทางดำเนินการต่อไปได้

       ๖.๒.๑ แนวทางการติดตามและประเมินผล

 

       ๖.๒.๒ หน่วยงานและภาคีเครือข่ายดำเนินการติดตามและประเมินผล

                         ให้กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เทศบาลตำบลถ้ำใหญ่เป็นหน่วยรับผิดชอบหลักในการดำเนินงานตามแนวทางการผลักดันประเด็นสำคัญไปสู่การปฏิบัติ โดยให้จัดทำรายงานการติดตามและประเมินผลภาพรวมที่บรรลุผลตามเป้าหมายการจัดการสาธารณภัย ประเมินผลกระทบ      การขับเคลื่อน และสรุปภาพรวมการติดตามและประเมินผลให้ผู้อำนวยการอำเภอเพื่อรายงานผลต่อไปยังผู้อำนวยการจังหวัด ผู้อำนวยการกลางและผู้บังคับบัญชาระดับเหนือขึ้นไปทราบ เพื่อนำไปสู่การปรับปรุง   แนวทางการดำเนินงานต่อไป

                         การจัดทำรายงานผลการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการในการป้องกันและบรรเทา สาธารณภัย เทศบาลตำบลถ้ำใหญ่ไปสู่การปฏิบัติ เพื่อตอบสนองต่อเป้าหมายการจัดการสาธารณภัยของ เทศบาลตำบลถ้ำใหญ่ให้มีประสิทธิภาพ ยกระดับไปสู่มาตรฐานตามหลักสากล ตลอดจนนำปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะไปปรับปรุงแผนปฏิบัติการในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เทศบาลตำบลถ้ำใหญ่ต่อไป

 ๖.๓ การวิจัยและพัฒนา

                 เป็นกระบวนการของการศึกษา การเรียนรู้ และการค้นหาแนวคิด แนวทาง และวิธีปฏิบัติหรือสิ่งประดิษฐ์ เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาเทคนิค วิธีการ รูปแบบการดำเนินงาน หรือระบบการจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัยที่เป็นประโยชน์ทั้งแก่ประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน รวมทั้งการนำสิ่งที่ได้    มีการคิดค้นหรือค้นพบมาพัฒนา ออกแบบ เปลี่ยนแปลง ผลการดำเนินงาน กระบวนการดำเนินงาน         และการบริการให้มีลักษณะรูปแบบใหม่ หรือการปรับปรุงให้ดีขึ้นกว่าเดิม และสามารถดำเนินการร่วมกับ   การติดตามและประเมินผล โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลภายใต้กรอบการติดตามและประเมินผลในลักษณะของการทบทวนจากบทเรียนและการเรียนรู้ทั้งก่อนการดำเนินการ ระหว่างดำเนินการ และเมื่อเสร็จสิ้น          การดำเนินการ โดยมีแนวทางการดำเนินการวิจัยและพัฒนา ดังนี้

       (๑) เทศบาลตำบลถ้ำใหญ่เป็นหน่วยงานหลักในการประสานงานด้านการศึกษา ค้นคว้า และการวิจัยและพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยร่วมกับสถาบันการศึกษา ภาคเอกชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำองค์ความรู้และเทคโนโลยีมาพัฒนาและประยุกต์ใช้เพื่อการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของ เทศบาลตำบลถ้ำใหญ่ให้เหมาะสม

       (๒) ศึกษาบทเรียนของเหตุการณ์สาธารณภัยสำคัญที่ผ่านมาของ เทศบาลตำบลถ้ำใหญ่เพื่อให้ทราบข้อมูลข้อเท็จจริงสำหรับไปประยุกต์ใช้ในการจัดการความเสี่ยงสาธารณภัยให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

       (๓) จัดทำสรุปบทเรียน (Lesson Learned) ของการเกิดสาธารณภัยครั้งสำคัญที่ผ่านมาของ เทศบาลตำบลถ้ำใหญ่เพื่อเป็นประโยชน์ในการบริหารจัดการในอนาคต

 ๖.๔ การทบทวนแผนปฏิบัติการในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของ ทต.ถ้ำใหญ่

       พระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๔๔ กำหนดว่า ในกรณีที่ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสาธารณภัยหรือการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยที่ได้กำหนดไว้ในแผนต่างๆ ตามพระราชบัญญัตินี้เปลี่ยนแปลงไป หรือแผนดังกล่าวได้ใช้ครบห้าปีแล้ว ให้เป็นหน้าที่ของผู้รับผิดชอบในการจัดทำแผนดำเนินการปรับปรุงหรือทบทวนแผนที่อยู่ในความรับผิดชอบ

       ดังนั้น หาก เทศบาลตำบลถ้ำใหญ่ได้ดำเนินการตามกระบวนการที่กำหนดไว้ในแผนปฏิบัติการในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เทศบาลตำบลถ้ำใหญ่พ.ศ. ๒๕๖๐ และได้มีการติดตามประเมินผลสัมฤทธิ์ของแผน หรือมีสถานการณ์สาธารณภัยที่ไม่ได้กำหนดไว้ในแผน หรือมีการวิจัยและพัฒนา พบข้อบกพร่อง  หรือมีนวัตกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยที่ทันสมัยและเหมาะสม ให้ เทศบาลตำบลถ้ำใหญ่พิจารณาทบทวนปรับปรุงแผนปฏิบัติการในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เทศบาลตำบลถ้ำใหญ่พ.ศ. ๒๕๖๐ ได้ตามความเหมาะสมทุกปี

 

ผู้บริหาร

นายอนันต์ ด่านสกุล

นายกเทศมนตรีตำบลถ้ำใหญ่
  08-4243-5589

แจ้งเหตุสาธารณภัย

ตลอด 24 ชั่วโมง


075-773-229 ต่อ 109

075-773-052



งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยและงานการแพทย์ฉุกเฉิน ทต.ถ้ำใหญ่