
การพัฒนาตามนโยบายของผู้บริหารเทศบาลตำบลถ้ำใหญ่ ภายใต้วิสัยทัศน์ของผู้บริหาร คือ “พัฒนาคุณภาพชีวิต ส่งเสริมการท่องเที่ยว สนับสนุนเศรษฐกิจพอเพียง เคียงคู่การศึกษา รักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม” ในการดำเนินการพัฒนาให้บรรลุเป้าหมายข้างต้น ได้กำหนดนโยบายการบริหารและการพัฒนาเทศบาลตำบลถ้ำใหญ่ เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ โดยกำหนดนโยบายการพัฒนา ดังนี้
นโยบายที่ 1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
1.1 ปรับปรุงภูมิทัศน์ถนนทุกสายในเขตเทศบาล ให้เป็นถนนที่สะอาด การระบายน้ำคล่องตัว มีความเป็นระเบียบเรียบร้อยและสวยงาม
1.2 ยึดหลักพัฒนาโดยใช้แผนประชาคมของคนในชุมชนเป็นหลักในการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคของเทศบาล
1.3 ส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการวางแผนพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับทุกกลุ่มทุกองค์กร
1.4 จัดเวทีกระบวนการมีส่วนร่วมภาคประชาชน/ภาครัฐและเอกชน
1.5 การพัฒนาพื้นที่ต้องสอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาประเทศไปสู่
“ไทยแลนด์ 4.0”
1.6 บุกเบิก พัฒนาเส้นทางคมนาคมภายในเขตพื้นที่รับผิดชอบให้ได้มาตรฐาน
สะดวกและปลอดภัยอย่างทั่วถึง
1.7 พัฒนาแหล่งน้ำ พัฒนาคุณภาพน้ำให้ได้มาตรฐานโดยเร่งด่วน
1.8 พัฒนาสาธารณูปโภค ระบบไฟฟ้า ไฟสาธารณะให้ทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ
1.9 ส่งเสริมการเข้าถึงระบบสื่อสารทุกรูปแบบครอบคลุมทุกพื้นที่
นโยบายที่ ๒ การพัฒนาด้านสาธารณสุข
2.1 ส่งเสริมการเรียนรู้ การดูแลสุขภาพ ของประชาชนอย่างทั่วถึง
2.2 จัดบริการตรวจสุขภาพ ผู้ด้อยโอกาส/ผู้สูงอายุ/ผู้พิการ/ผู้ป่วยติดเตียง
2.3 จัดให้มีการดูแลกลุ่มเป้าหมาย เด็กแรกเกิด กลุ่มสตรี กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มผู้พิการ และแรงงานต่างด้าวร่วมกับ รพ.สต. / อสม. / แพทย์ประจำตำบล
2.4 จัดให้มีรถ รับ-ส่ง ผู้ป่วยฉุกเฉินของเทศบาล/ มูลนิธิ
2.5 การจัดให้มีส่วนร่วมระหว่าง เทศบาล /รพ.สต.ตำบล/ผู้ประกอบการในพื้นที่
จัดตรวจสุขภาพ และกลั่นกรองกลุ่มเสี่ยง
นโยบายที่ 3 การพัฒนาเศรษฐกิจ
3.1 ส่งเสริมสนับสนุนสินค้าชุมชน เพื่อเพิ่มรายได้ครัวเรือน
3.2 ส่งเสริมพัฒนาการรวมกลุ่มในชุมชน/กลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มแม่บ้าน
สินค้า OTOP เพื่อการพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน
3.3 ส่งเสริมพัฒนาอาชีพ การสร้างงาน การเพิ่มรายได้ให้แก่ประชาชนตาม
หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
3.4 ส่งเสริมการค้า การลงทุน รวมทั้งแก้ปัญหาผลผลิตทางการเกษตร
3.5 สนับสนุนส่งเสริม องค์ความรู้แก่กลุ่มอาชีพและแปรรูป ตลอดจนสนับสนุน
เครื่องมือเครื่องใช้
3.6 ส่งเสริมกิจกรรมกลุ่ม จัดการท่องเที่ยวในชุมชน ทุกรูปแบบ การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว/เชื่อมโยงเครือข่ายการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
3.7 ส่งเสริมและสนับสนุน พัฒนาเศรษฐกิจพื้นที่ต้องสอดคล้องกับแผนพัฒนาแห่งชาติ
นโยบายที่ 4 การพัฒนาคนและสังคม
4.1 ส่งเสริมพัฒนาคุณภาพเด็ก เยาวชน คนหนุ่มสาว ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส
และคนพิการในทุกๆ ด้าน เพื่อการดำเนินชีวิตที่สมบูรณ์เพื่อความมั่นคงในชีวิต
4.2 ส่งเสริมให้มีการจัดระเบียบชุมชน สังคม และการรักษาความสงบเรียบร้อย
เพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
4.3 สมทบงบประมาณในกองทุนสวัสดิการชุมชน
4.4 สนับสนุนส่งเสริมสวัสดิการแก่ ชุด ชรบ./อพปร.และชุดอาสาสมัครตำรวจหมู่บ้าน
4.5 ส่งเสริมการกีฬา และนันทนาการ/สวนสุขภาพ ลานกิจกรรมพร้อมอุปกรณ์ สำหรับออกกำลังกาย
4.6 ส่งเสริมการจัดตั้งกลุ่ม องค์กร ชุมชน การรักษาวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น
4.7 จัดระบบป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยตามหลักมาตรฐานสากล
4.8 ส่งเสริมการพัฒนาผู้ที่ไม่มีที่อยู่อาศัย และที่ทำกิน ตลอดผู้อาศัยในที่ดินของรัฐ
ผลักดันให้มีโครงการบ้านมั่นคงชนบท บ้านเอื้ออาทร ลดความเลื่อมล้ำทางสังคม
4.9 ส่งเสริมองค์ความรู้ให้กับเด็กและเยาวชน สร้างภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันในเรื่อง
ยาเสพติดในสถานศึกษาชุมชน หมู่บ้าน
นโยบายที่ 5 การพัฒนาการศึกษาเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
5.1 จัดการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษาให้ทั่วถึง และได้มาตรฐาน
5.2 ปรับปรุงคุณภาพศูนย์เด็กเล็กขยายโอกาสให้ทั่วถึงทั้งสถานที่อาคารเรียน
ครูพี่เลี้ยงเด็ก และโสตทัศนูปกรณ์ที่เอื้ออำนวยต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
5.3 ส่งเสริมการศึกษาในทุกระดับ สนับสนุนทุนการศึกษาให้เด็กที่ขาดแคลน/ ด้อยโอกาส/ เด็กนักเรียนที่ขาดทุนทรัพย์
5.4 จัดสร้างและสนับสนุนศูนย์การศึกษา กศน.ระดับตำบลเป็นรูปธรรมและมีอาคาร
สถานที่
นโยบายที่ 6 การพัฒนาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ
6.1 ให้มีการจัดเก็บขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลอย่างทั่วถึง ตลอดจนการกำจัดขยะถูกต้อง ถูกสุขลักษณะ
6.2 ส่งเสริมองค์ความรู้ให้ชุมชน มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
การฟื้นฟู อนุรักษ์ เพื่อลดมลพิษ
6.3 รณรงค์เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ สร้างจิตสำนึก ความเข้าใจ ในการอนุรักษ์
สิ่งแวดล้อม
6.4 ส่งเสริมสนับสนุนการใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยอินทรีย์ ตามหลักการเกษตรทฤษฎีใหม่
6.5 ส่งเสริมจัดตั้งธนาคารต้นไม้ พร้อมสนับสนุนให้ชุมชนเพาะพันธุ์กล้าไม้ท้องถิ่น
6.6 ผลักดันผู้ที่ทำกินและที่อยู่อาศัยในที่ดิน ที่ทำประโยชน์ในที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิ์
และออกใบการถือครองให้ถูกต้องตามกฎหมาย
นโยบายที่ ๗ พัฒนาระบบการเมืองและกระบวนการบริหารจัดการภาครัฐ
7.1 จัดระบบการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบ การเมือง การปกครองระบบประชาธิปไตย
7.2 ส่งเสริมมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น
7.3 ยึดหลักธรรมาภิบาล และกระบวนการประชาธิปไตย
7.4 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น
7.5 การกระจายอำนาจการบริหารแบบมีส่วนร่วม ส่งเสริมบุคคลที่มีความรู้
ความสามารถเข้ามามีบทบาทผู้นำ/สภาองค์กรชุมชน สภาวัฒนธรรม/หน่วยงานของรัฐ/ภาคีเครือข่ายภาคประชาชน
7.6 ส่งเสริมให้มีแหล่งเรียนรู้วิถีชุมชน น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงแบบมั่นคงสู่ยั่งยืน
7.7 จัดระบบบริการสาธารณะของเทศบาลให้เป็นองค์กรที่ทันสมัย บริการได้อย่างรวดเร็วประทับใจ
7.8 ปรับปรุงภูมิทัศน์อาคารสำนักงานเทศบาลให้สะอาด เป็นระเบียบเรียบร้อย และสวยงาม เป็นที่ประทับใจของผู้มาติดต่อราชการ
2. ยุทธศาสตร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
วิสัยทัศน์
"เป็นศูนย์กระจายผลผลิต สิ่งแวดล้อมดี มีแหล่งท่องเที่ยวเชิงอารยธรรม นำสู่อาชีพ"
ยุทธศาสตร์
1. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน
2. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการศึกษา
3. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านสังคมและคุณภาพชีวิต
4. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ
5. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม
6. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการเมืองการปกครอง
และการบริหารจัดการภาครัฐภายใต้หลักธรรมาภิบาล
กลยุทธ์
1. ก่อสร้าง ปรับปรุง บำรุง รักษาถนน สะพาน ทางเท้า ท่อระบายน้ำ ระบบไฟฟ้า โทรศัพท์
2. สร้างและปรับปรุงระบบประปา แหล่งน้ำ
3. เพิ่มช่องทางและโอกาสการรับรู้ข้อมูลข่าวสารให้แก่ประชาชน
4. พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนและสนับสนุนการศึกษาแก่เด็กนักเรียน
5. ส่งเสริมสุขภาพชุมชนและสาธารณสุขมูลฐาน
6. ป้องกัน ต่อต้านยาเสพติดและรักษาความปลอดภัย
7. ส่งเสริมการเล่นกีฬาและนันทนาการ
8. ส่งเสริมระบบป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
9. การสวัสดิการสังคมและสังคมสงเคราะห์
10.การสนับสนุนการบำรุงศาสนสถานรักษาขนบธรรมเนียม ประเพณี ศาสนาและภูมิปัญญาท้องถิ่น
11. พัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การตลาดให้แก่เกษตรกร
12. เพิ่มศักยภาพกลุ่มทุนองค์กรประชาชน
13. เพิ่มศักยภาพแหล่งท่องเที่ยว
14. พัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร
15. บำบัดและกำจัดขยะและสิ่งปฏิกูล
16. สร้างจิตสำนึกและความตระหนักในการจัดการสิ่งแวดล้อมและดำเนินการป้องกันมลภาวะ
17. พัฒนาศักยภาพกลุ่มองค์กรภาคประชาชน
18. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน
19. พัฒนาระบบการบริหารจัดการ